02-734-0911-2, 081-7344-552 thaidoctorvision@gmail.com [gtranslate]

การตรวจสายตาสั้น ยาว เอียง ด้วยตนเอง[AT051]

ขั้นตอนการตรวจสายตา สั้น ยาว เอียง ด้วยตนเอง เข้าไปดาวโหลด แผ่นทดสอบการมองเห็นในหน้านี่ที่หัวข้อ “ไฟล์ประกอบ” หรือเข้าไปดาวโหลดตามลิ้งข้างล่าง และปริ้นลงกระดาษ (ห้ามตั้งค่าปริ้นเตอร์ให้ประหยัดหมึก เพราะจะทำให้ตัวหนังสือจางและการทดสอบได้ผลไม่ดีครับ)  https://docs.google.com/file/d/0ByXVSzEXKavFMDY2NzIzZjktZDJmOC00ZDVhLTlhNTMtZTIwMDg4OTRkOWEy/edit?authkey=CPuE3ccF&;;;hl=en&pli=1 หลังจากดาวน์โหลดแล้ว ตรวจสอบความถูกต้องของขนาดตัวอักษรโดยใช้ไม้บรรทัดวัดเส้นที่มุมขวาล่างของแผ่นทดสอบ ถ้าวัดได้ขนาด 10 เซนติเมตรพอดีแสดงว่าขนาดตัวอักษรถูกต้อง 2.วางแผ่นทดสอบนี้ไว้ให้ห่างจากตา 6 เมตรในที่ๆมีแสงสว่างเพียงพอ ทำเครื่องหมายที่พื้นที่ระยะห่าง 6 เมตรและ 50 เซนติเมตรจากแผ่นทดสอบ 3.เตรียมกระดาษโน๊ตและปากกาเพื่อจดสิ่งที่ท่านเห็น  อาจเขียนตารางไว้เพื่อเตรียมบันทึกข้อมูล ตาขวา / 6 เมตร ตาซ้าย / 6 เมตร ตาขวา / 50 เซนติเมตร ตาซ้าย / 50 เซนติเมตร 4.ปิดตาซ้ายด้วยแผ่นกระดาษ(ถ้าใช้มือปิดตาอย่าให้มือกดหนังตาเพราะอาจทำให้กระจกตาแบนลงชั่วคราวและค่าสายตาเปลี่ยนไปได้) ใช้ตาขวาดูที่ตัวหนังสือในแถวที่ 2 บันทึกสิ่งที่ท่านเห็น อาจบันทึกเป็น E M 3 W หรือแล้วแต่ถนัด(ที่ “ตาขวา /…

Read More »

ทดสอบตาเหล่ตาเขเบื้องต้นด้วยตนเอง[AT054]

ทดสอบตาเหล่ตาเขด้วยตนเอง ทดสอบตาเขระยะไกล 1.หาเป้ามอง อาจเลือกจุดเล็กๆที่ระดับสายตาห่างจากตัวประมาณ 6 เมตร ขนาดขนาดของจุดประมาณเท่าเหรียญบาทหรือใหญ่กว่าเล็กน้อย ลักษณะจุดที่มองควรตัดกับสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน ใช้จุดดังกล่าวเป็นเป้ามองในการทดสอบ 2.ลืมตาทั้งสองข้างและมองไปที่เป้า (ถ้ามีแว่นสายตามองไกลให้ใส่แว่นตาด้วย) ผู้ทดสอบต้องมองเห็นเป้าได้ชัดเจนจึงทำการทดสอบต่อได้ ถ้ามองเห็นเป้าที่ใช้มองแยกออกเป็นสองภาพ(ซึ่งจริงๆแล้วมีเป้าอันเดียว) แสดงว่าคุณตาเหล่ ถ้ามองเห็นเป้าเป็นภาพเดียว ให้ทำการทดสอบข้อต่อไป 3.ใช้มือขวาบังตาขวาโดยไม่ให้มือแตะถูกหนังตา เลื่อนมือไปมาเพื่อปิดและเปิดตาขวาโดยใช้เวลาสำหรบการปิดหรือเปิดตาแต่ละครั้งประมาณ 3-5 วินาที (ไม่ให้มือไปบังตาซ้าย)  ระหว่างที่เลื่อนมือเพื่อปิดตาขวาให้สังเกตทันทีว่าตาซ้ายยังมองที่เป้าอยู่หรือไม่ (สังเกตเฉพาะตอนบัง ไม่ต้องสังเกตตอนที่ขยับมือออก)       ถ้าตาซ้ายยังมองอยู่ที่เป้าตลอดเวลาขณะที่มือบังและเปิดตาขวาอยู่แสดงว่าตาซ้ายไม่เหล่     ถ้าปิดตาขวาแล้วตาซ้ายไม่ได้มองที่เป้า กลับมองที่อย่างอื่นอยู่และค่อยเลื่อนมาที่มองที่เป้า แสดงว่าตาซ้ายเหล่     ถ้าปิดตาขวาแล้ว ตาซ้ายมองเห็นไม่ชัด แสดงว่าตาซ้ายอาจมีสายตาหรือความผิดปกติอื่นๆทำให้มองไม่ชัด (หรืออาจตาเหล่ด้วย ถ้าปิดตาขวาแล้วตาซ้ายไม่ได้มองที่เป้า)     ถ้าปิดตาขวาแล้ว ตาซ้ายมองไม่เห็นอะไรเลย แสดงว่าตาซ้ายอาจมัวหรือบอด (เวบ YouTube แสดงการตรวจตาเหล่ตาเข ภาษาอังกฤษ)4.ทำซ้ำกับตาอีกข้าง โดยใช้มือซ้ายบังตาซ้าย และทำตามวิธีในข้อ 3       ถ้าตาขวายังมองอยู่ที่เป้าตลอดเวลาขณะที่มือบังและเปิดตาซ้ายอยู่แสดงว่าตาขวาไม่เหล่    …

Read More »

ทดสอบตาเขซ่อนเร้นระยะใกล้เบื้องต้นด้วยตนเอง[AT052]

ทดสอบตาเขซ่อนเร้นระยะใกล้ด้วยตนเอง ข้อแนะนำ ก่อนการทดสอบตาเขซ่อนเร้น ท่านควรทดสอบตาเขก่อนทุกครั้ง ถ้าท่านเป็นตาเขแล้วไม่ต้องทดสอบตาเขซ่อนเร้นอีกเนื่องจากทั้งสองอย่างจะไม่เกิดพร้อมกัน ถ้าท่านไม่เป็นตาเขจึงทำการทดสอบตาเขซ่อนเร้นต่อได้ ทดสอบตาเขซ่อนเร้นระยะใกล้ 1.หาเป้ามอง อาจเลือกจุดเล็กๆที่ระดับสายตาห่างจากตัวประมาณ 40 เซนติเมตร ขนาดของจุดประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียวโดยประมาณ ลักษณะจุดที่มองควรตัดกับสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน ใช้จุดดังกล่าวเป็นเป้ามองในการทดสอบ 2.ลืมตาทั้งสองข้างและมองไปที่เป้า (ถ้ามีแว่นสายตามองใกล้ให้ใส่แว่นตาด้วย) ผู้ทดสอบต้องมองเห็นเป้าได้ชัดเจนจึงทำการทดสอบต่อได้ ถ้ามองเห็นเป้าที่ใช้มองแยกออกเป็นสองภาพ(ซึ่งจริงๆแล้วมีเป้าอันเดียว) แสดงว่าคุณน่าจะตาเข ถ้ามองเห็นเป้าเป็นภาพเดียว ให้ทำการทดสอบข้อต่อไป 3.ใช้มือขวาบังตาขวาโดยไม่ให้มือแตะถูกหนังตา เลื่อนมือไปมาเพื่อปิดตาซ้ายสลับกับการปิดตาขวาโดยใช้เวลาสำหรับการปิดตาแต่ละข้างประมาณ 3-5 วินาที  ระหว่างที่เลื่อนมือเพื่อปิดตาให้สังเกตว่าเป้าที่มองอยู่ยังคงอยู่นิ่งๆหรือมีการขยับระหว่างการปิดตาสลับข้าง      ถ้าสังเกตเห็นเป้าอยู่นิ่งๆ ไม่มีการเคลื่อนที่ แสดงว่าท่านไม่มีตาเขซ่อนเร้น      ถ้าสังเกตเห็นเป้ามีการเคลื่อนที่ทุกครั้งเมื่อสลับมือปิดตา แสดงว่าท่านมีตาเขซ่อนเร้น โดยเป้าที่เคลื่อนที่ระหว่างการปิดตา อาจเคลื่อนในทิศทางซ้าย-ขวา บน-ล่าง หรือเฉียงๆก็ได้ ซึ่งการเคลื่อนที่ในทิศทางที่ต่างกัน แสดงให้เห็นถึงชนิดของตาเขซ่อนเร้นที่แตกต่างกันด้วย หมายเหตุ การตรวจนี้เป็นวิธีการตรวจด้วยตนเองอย่างง่ายๆ ไม่ใช่คำวินิจฉัยว่าท่านมีตาเขซ่อนเร้นจริงๆ ถ้าท่านต้องการตรวจให้แน่ชัดว่ามีอาการตาเขซ่อนเร้นจริงหรือไม่ ควรไปพบจักษุแพทย์หรือนักทัศนมาตรเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด(ที่ร้านหมอแว่นมีบริการตรวจตาเหล่และตาเหล่ซ่อนเร้นให้แก่ลูกค้าทุกท่านฟรี) ภาวะตาเขซ่อนเร้นในเด็ก อาจทำให้เด็กมีปัญหาตาเขตามมาได้ ถ้าบุตรหลานหรือนักเรียนของท่านมีอาการตาเขซ่อนเร้น ควรไปพบจักษุแพทย์หรือนักทัศนมาตรเพื่อรับคำปรึกษาและแก้ไข อนึ่งตาเขซ่อนเร้นอาจทำให้มีอาการตามัวหรือเห็นภาพซ้อนเป็นพักๆ ปวดตาหรือปวดหัวเวลาใช้สายตามากๆได้ โดยอาการดังกล่าวสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้โดยการใช้แว่นสายตาหรือเลนส์ปริซึมหรือทั้งสองอย่าง ภาวะตาเขซ่อนเร้นในผู้ใหญ่ อาจทำให้มีอาการดวงตาอ่อนล้าง่ายโดยเฉพาะเมื่อต้องใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานาน…

Read More »

ทดสอบจอตาส่วนกลาง โดย Amsler Grid เบื้องต้นด้วยตนเอง[AT053]

ทดสอบจอตาส่วนกลาง โดย Amsler Gridด้วยตนเอง 1.ดาวโหลดแผ่นทดสอบ แอมสเล่อร์ กริด (คลิกที่ “ไฟล์ประกอบ” : “Dowload“) และเปิดให้มีขนาดเท่าขนาดจริง (View : Zoom : 100% / actual size) บนจอคอมพิวเตอร์ หรือปริ้นลงกระดาษ A4 2.ตรวจสอบขนาดของแผ่นทดสอบ โดยวัดความยาวของเส้นใต้ แอมสเล่อ กริด ถ้าได้ 10 เซนติเมตรแสดงว่าแผ่นทดสอบมีขนาดที่ถูกต้อง 3.อยู่ห่างจากแผ่นทดสอบ 30 เซนติเมตร(ถ้าใช้แผ่นทดสอบนี้ต้องใช้ระยะนี้เท่านั้น) ปิดตาซ้าย ใช้ตาขวาข้างเดียวมองที่แผ่นทดสอบที่จุดกึ่งกลางแผ่นทดสอบ(จุดขาวที่กลางแผ่น) ในขณะทำการทดสอบให้มองที่จุดขาวกลางแผ่นทดสอบตลอดเวลา ถ้ามองไม่เห็นจุดขาว ให้มองจุดที่เส้นทะแยงมุมตัดกัน(โดยการประมาณ) ถ้าผู้ทดสอบมีแว่นมองใกล้ให้ใส่แว่นด้วยเพื่อให้มองแผ่นทดสอบได้ชัดเจน             Amsler Grid มีหลายแบบ อาจเป็นตารางขาวบนพื้นดำ หรือตารางดำบนพื้นขาวก็ได้ สำหรับคนแพ้แสงควรใช้ชนิดพื้นดำ 4.ตอบคำถามดังนี้     คุณมองเห็นจุดกึ่งกลางสีขาวหรือไม่(เห็น /…

Read More »