คอนแทคเลนส์สำหรับตาบอดสี(ระหว่างปรับปรุง)[AT074]
http://www.colormax.org/default.htm คอนแทคเลนส์สำหรับตาบอดสี(ระหว่างปรับปรุง)
http://www.colormax.org/default.htm คอนแทคเลนส์สำหรับตาบอดสี(ระหว่างปรับปรุง)
เด็กควรใช้คอนแทคเลนส์หรือไม่ คำตอบคือ เด็กสามารถใช้คอนแทคเลนส์ได้ ถ้ามีความจำเป็น เด็กส่วนใหญ่ ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ เพราะว่าการใช้คอนแทคเลนส์ทำให้มีความเสี่ยงต่อดวงตามากขึ้น การใช้คอนแทคเลนส์ที่ปลอดภัยต้องมีการดูแลและการใช้งานอย่างถูกต้อง ถ้ารักษาความสะอาดไม่ดี หรือมีการใช้งาน ใส่ ถอด ผิดวิธี ก็อาจจะทำให้ดวงตาเกิดการบาดเจ็บ ตาอักเสบ ติดเชื้อตามมาได้ แต่เด็กบางคนมีความจำเป็นต้องใส่คอนแทคเลนส์ เนื่องจากมีความผิดปกติที่ไม่เหมาะกับการใส่แว่นตา และการใช้คอนแทคเลนส์ทำให้มีประโยชน์ต่อเด็กคนนั้น มากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ความจำเป็นเหล่านั้นเช่น คอนแทคเลนส์ช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะสายตาเลือนราง(Low Vision) หรือตาขี้เกียจ (Amblyopia) ในเด็กที่มีปัญหาสายตาสองข้างต่างกันมาก(Amblyopia) หรือปัญหาสายตาสั้นมาก ยาวมาก หรือเอียงมาก(High Refractive Error) สำหรับเด็กทารกที่เป็นต้อกระจกโดยกำเนิด(Congenital Cataract) หลังการผ่าเอาเลนส์ตาที่ขุ่นออก การใช้คอนแทคเลนส์จะช่วยทำให้เด็กมีพัฒนาการของระบบการมองเห็นและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าแว่น เด็กที่มีปัญหาตาแห้งรุนแรง(Severe Dry Eye) ต้องใช้ Scleral Contact Lens เพื่อป้องกันไม่ให้กระจกตาถลอกหรือขุ่นตัว ซึ่งอาจทำให้ตาบอด เด็กที่มีปัญหา กระจกตาไม่เรียบ(Irregular Cornea) เช่น กระจกตาโป่งพอง (Keratoconus) , หรือดวงตาได้รับอุบัติเหตุจนเกิดกระจกตาบิดเบี้ยว คอนแทคเลนส์จะทำให้เด็กมองเห็นชัดขึ้น และป้องกันการเกิดปัญหาตาขี้เกียจ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า…
พ่อแม่ที่มีลูกสายตาสั้น มักมีคำถามอยู่ในใจทุกครั้งที่พาลูกไปตัดแว่นใหม่ว่า “เมื่อไรหนอที่ลูกสายตาจะหยุดสั้นเพิ่มขึ้น” หรือ “มีวิธีใดหรือไม่ที่จะทำให้ลูกสายตาไม่สั้นเพิ่มขึ้น หรือสายตาสั้นหายไปเลยยิ่งดี” นอกจากสายตาที่สั้นเพื่มขึ้นจะทำให้ต้องใส่แว่นหนาขึ้นและเปลื่องค่าตัดแว่นอันใหม่แล้ว ยังมีผลเสียต่างๆตามมามากมายเช่น ตามัวมากขึ้นเมื่อไม่มีแว่น ลำบากเมื่อต้องทำกิจกรรมต่างๆเช่นเล่นกีฬา เต้นรำ เสียบุคลิกโดยเฉพาะถ้าต้องใส่แว่นหนา ขาดความมั่นใจเพราะถูกเพื่อนล้อ ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นเพราะต้องใช้เลนส์ย่อบางราคาแพง เมื่อโตขึ้นถ้าสายตาสั้นมากอาจไม่สามารถแก้ไขด้วยการทำเลสิกได้หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสายตาสั้นมากกว่า -6.00 D. ขึ้นไป จะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการเป็นโรคตาที่รุนแรงหลายโรคเช่น ต้อหิน จอประสาทตาฉีกขาดหลุดลอก จอตาเสื่อม ฯลฯ ผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้นมากแทบทุกคนไม่ได้มีสายตาสั้นมากตั้งแต่เกิด โดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากสายตาสั้นเพียงเล็กน้อยในวัยเด็กและสั้นเพิ่มขึ้นทุกๆปีทำให้มีสายตาสั้นสะสมกลายเป็นสายตาสั้นมากในที่สุด ตัวอย่าง เช่นนายเอ(นามสมมุติ) ปัจจุบันอายุ 20 ปีสายตาสั้น -12.00D (สั้นหนึ่งพันสองร้อย) ตอนแรกเกิด ดช.เอสายตาสั้นเพียง -2.00 D(สั้นสองร้อย) แสดงว่าในระยะเวลา 20 ปี สายตาของ ดช.เอ สั้นเพิ่มขึ้น -10.00 D หรือเฉลี่ยปีละ -0.50D จะเห็นว่านายเอไม่ได้มีสายตาสั้นมากมาตั้งแต่เกิด แต่สายตาสั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปีสะสมมากขึ้นจนกระทั่งสายตาสั้นมากในตอนโต ดังนั้นถ้ามีวิธีทำให้…
คอนแทคเลนส์สำหรับผู้ตาแห้ง คอนแทคเลนส์มีหลายชนิด โดยคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มที่นิยมใช้กันทั่วไปเป็นคอนแทคเลนส์ที่ทำให้ผู้ใส่ตาแห้งเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการไม่ใส่คอนแทคเลนส์ อย่างไรก็ดียังมีคอนแทคเลนส์อีกหลายชนิดที่ใส่แล้วไม่ทำให้ตาแห้ง บางชนิดสามารถเก็บความชื้นไว้กับดวงตาได้ดีมาก ถึงกับสามารถใช้รักษาผู้ที่ตาแห้งมากโดยเฉพาะเช่นการใช้ สเคลอร่าเลนส์ (Scleral Lens) สำหรับรักษาผู้ที่ตาแห้งที่เกิดจากโรคโจเกรน (Sjogren’s Syndrome) ซึ่งผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว ต่อมน้ำตาจะถูกทำลายทำให้ไม่มีการผลิตน้ำตาเลยส่งผลให้ตาแห้งมาก เมื่อกระพริบตาเปลือกตาจะสีกับกระจกตาทำให้เกิดแผลถลอก นานวันเข้าทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่กระจกตาทำให้กระจกตาขุ่นและตาบอดในที่สุด การใส่สเคลอร่าเลนส์ จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้กับกระจกตา และปกป้องกระจกตาจากการเป็นรอยแผลเป็นได้ รูปแสดงสเคลอร่าเลนส์(ซ้าย) เทียบกับคอนแทคเลนส์ RGP ทั่วไป(ขวา) ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์นิ่มแล้วเกิดอาการตาแห้ง ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยมักจะทนกับปัญหาดังกล่าว บ้างแก้ปัญหาโดยการหยอดน้ำตาเทียมซึ่งใช้ได้ดีกับผู้ที่ตาแห้งไม่มาก แต่สำหรับผู้ที่ตาแห้งมากแล้ว น้ำตาเทียมกลับแก้ปัญหาได้เพียงชั่วคราวทำให้ต้องหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ หลายคนทนกับปัญหาตาแห้งไม่ไหวก็เลิกใส่คอนแทคเลนส์ไป โดยคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า อาการตาแห้งที่เกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์ สามารถแก้ไขได้ ตาแห้งที่เกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีทั้งสาเหตุที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวกับคอนแทคเลนส์ ตัวอย่างสาเหตุตาแห้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับคอนแทคเลนส์เช่น การกระพริบตาไม่สนิท หรือกระพริบน้อยเกินไป น้ำตาไม่มีคุณภาพ น้ำตาผลิตน้อย น้ำตาระเหยเร็วเกินไป สภาวะแวดล้อมภายนอกเช่น อากาศแห้ง ลมแรง ฝุ่นควันมาก ต่อมไขมันที่เปลือกตาอักเสบ(Meibomitis) เปลือกตาอักเสบ(Blephritis) โรคโจเกรน(Sjogren’s Syndrome) หรือการรับประทานยาบางชนิดที่มีผลทำให้ตาแห้ง ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ตาแห้งได้ ถ้าได้รับการตรวจ ทราบสาเหตุที่แน่ชัดและแก้ไขก็จะทำให้อาการตาแห้งลดน้อยลงหรือหมดไปได้…
สำหรับผู้ที่มีค่าสายตาสูง ไม่สามารถหาคอนแทคเลนส์ที่ขายทั่วไปตามท้องตลาดที่เหมาะกับดวงตาได้ หรือผู้ที่มีขนาดของดวงตาใหญ่หรือเล็กกว่าปกติ ค่าความโค้งกระจกตาที่นอกเหนือจากคอนแทคเลนส์ที่ขายตามท้องตลาด สามารถประกอบคอนแทคเลนส์เฉพาะสำหรับดวงตาของท่าน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ค่าสายตา : สายตาสั้นสูงสุด -75.00D(สั้นเจ็ดพันห้าร้อย) สายตายาวสูงสุด +50.00D(ยาวห้าพัน) และสายตาเอียงสูงสุด -20.00D(เอียงสองพัน) ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของคอนแทคเลนส์และลักษณะของดวงตา ชนิดวัสดุ : ทั้งวัสดุชนิด RGP(กึ่งนิ่มกึ่งแข็ง / Semihard) และคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มทั้งชนิดธรรมดา(Hydregel) และชนิดที่มีค่าอ๊อกซิเจนสูง (Silicone Hydregel) รวมทั้งคอนแทคเลนส์ชนิดลูกผสม(Hybrid ตรงกลางเป็นเลนส์แข็ง ด้านข้างเป็นเลนส์นิ่มเพื่อลดการระคายเคือง) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเลนส์(Over All Diameter) : 8.0-21.0 มิลลิเมตร ขนาด Base curve : 3.5-15.5 มิลลิเมตร
รวมคำถามเลนส์จัดตา OK Lens, OrthoKeratology, Ortho-K lens OrthoK lens คืออะไร…..??? OrthoK lens คือชื่อของคอนแทคเลนส์ชนิดกึ่งนิ่มกึ่งแข็งที่ออกแบบผิวด้านหลังแบบ Reverse Geometryใช้สำหรับใส่นอนเพื่อแก้ไขปัญหาสายตา การใช้งานของ OrthoK Lens จะใช้สำหรับใส่ขณะนอนหลับ และถอดออกเมื่อตื่น โดยระหว่างวันผู้ใช้เลนส์ไม่จำเป็นต้องใส่คอนแทคเลนส์หรือแว่นตา ก็สามารถมองเห็นได้ชัดเจน OrthoK lens แก้ไขค่าสายตาได้อย่างไร…..??? OrthoK lens แก้ไขค่าสายตาโดยการปรับความโค้งของกระจกตาคล้ายกับการทำเลสิก ต่างกับการทำเลสิกตรงที่การใช้ OrthoK Lens ไม่ต้องผ่าตัด ผู้ใช้เพียงแค่ใส่ OrthoK Lens ขณะหลับและถอดออกเมื่อตื่นนอน คอนแทคเลนส์ที่ถูกออกแบบเป็นพิเศษจะช่วยปรับความโค้งของกระจกตาในขณะนอนหลับ ทำให้ความโค้งกระจกตาเหมาะสมและมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น รูปเปรียบเทียบ การแก้ไขสายตาชนิดต่างๆ 1 ภาพแสดงสายตาปกติ แสงที่เข้าสู่ดวงตา(สีเขียว)โฟกัสพอดีที่จอตา มองเห็นได้ชัดเจน 2 ภาพแสดงสายตาสั้น แสงที่เข้าสู่ดวงตา โฟกัสสั้นกว่าจอตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด 3 ภาพแสดงสายตาสั้นที่แก้ไขด้วยแว่นตาเลนส์เว้า…
สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์เวลากลางวัน และไม่อยากทำเลสิกหรือผ่าตัดแก้ไขสายตา OK lens สามารถทำให้ท่านมองเห็นได้อย่างชัดเจนได้ เพียงท่านใส่ OK Lens นอนและถอดออกเมื่อตื่น เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาสายตาเช่น ทหาร ตำรวจ นักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายสิบ นักเรียนจ่า ฯลฯ นักบิน แอร์โฮสเตส หรือผู้ที่มีปัญหาตาแห้งมากจากการขึ้นเครื่องบิน ผู้ที่ตาแห้งมากเกินไป แพทย์ไม่แนะนำให้ทำเลสิก หรือ PRK เด็กที่ต้องการควบคุมสายตาสั้น เด็กที่สายตาสั้นเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ที่มีกิจกรรมที่ต้องมีการปะทะ เช่น นักกีฬาเทควันโด ชกมวย ยูโด ฯลฯ ผู้ทีมีกิจกรรมทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำ ดำน้ำ เจ็ตสกี ฯลฯ ช่วงค่าสายตาที่เหมาะสม สั้นไม่เกิน -10.00 D (หนึ่งพัน) ยาวไม่เกิน 5.00 D.(ห้าร้อย) สายตาเอียงไม่มากกว่าสายตาสั้น ไม่เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีแผลเป็นที่กระจกตา ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อที่กระจกตาบางชนิดเช่น Herpes Keratitis ผู้ที่มีกระจกตาแบนหรือนูนหรือเอียงมากเกินไป อ่านเพิ่มเติม คอนแทคเลนส์ :…
ความผิดปกติของกระจกตาส่วนใหญ่ ทำให้มีปัญสายตาที่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ทั่วไปไม่สามารถแก้ไขทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนและสบายตาได้ ตัวอย่างกระจกตาผิดปกติเช่น กระจกตาโป่งพอง Keratoconus : โรคที่ทำให้กระจกตาบริเวณกลางตาดำบางลงและกระจกตาปูดออกมา Keratoglobus : โรคที่ทำให้กระจกตาบางลงทั้งบริเวณกลางและริมตาดำ ทำให้กระจกตาปูดออกมา Pellucid Marginal Degeneration : โรคที่ทำให้กระจกตาบางลงเฉพาะบริเวณริมตาดำใกล้กับตาขาว ทำให้กระจกตาปูดออกมา Corneal Ectasia : กระจกตาปูดออกมา ที่เกิดจากสาเหตุต่างๆเช่น หลังการทำเลสิกหรือ PRK Irregular cornea : กระจกตาไม่เรียบหรือมีความโค้งไม่สม่ำเสมอเนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น กระจกตาบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จากการติดเชื้อ หรือจากการผ่าตัด ฯลฯ ความผิดปกติดังตัวอย่างที่กล่าวมา ถ้าเป็นมากจนกระทั่งเกิดกระจกตาขุ่นบดบังการมองเห็น แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนกระจกตา แต่ถ้ากระจกตายังคงใสดีอยู่ คอนแทคเลนส์ที่สั่งตัดเฉพาะบุคคลสามารถช่วยให้กลับมามองเห็นได้อย่างชัดเจนและสบายตาได้ โดยคอนแทคเลนส์ที่สามารถใช้ได้ดีกับกรณีดังกล่าวเช่น สเคลอร่าเลนส์ ไฮบริดเลนส์ หรือคอนแทคเลนส์นิ่มออกแบบพิเศษเฉพาะบุคคล ฯลฯ เนื่องจากช่วยลดโอกาสการเกิดกระจกตาขุ่นตัวได้เมื่อเทียบกับการใช้คอนแทคเลนส์ Corneal RGP ทั่วไป
ปัญหาสายตายาวสูงอายุทำให้ค่าสายตามองไกลและค่าสายตามองใกล้เป็นคนละค่ากัน ทำให้คอนแทคเลนส์เดิมที่เคยใส่แล้วมองเห็นได้ชัดเจนทั้งไกลและใกล้ มาวันนี้กลับใช้มองใกล้ไม่ชัดเจนหรือไม่สบายตา การแก้ไขโดยทั่วไปอาจต้องมีแว่นอีกอันเพื่อใส่ทับคอนแทคเลนส์เมื่อทำงานระยะใกล้ หรือเปลี่ยนจากการใช้คอนแทคเลนส์ไปใช้แว่นตาแทน ซึ่งผู้ที่ถนัดใช้คอนแทคเลนส์มักไม่ต้องการเช่นนั้น โดยต้องการคอนแทคเลนส์ที่ทำให้มองเห็นได้ชัดทั้งระยะใกล้และไกลเหมือนที่เคยเป็น คอนแทคเลนส์สำหรับสายตายาวสูงอายุ มีด้วยกันหลายอย่างหลายโครงสร้าง ส่วนใครจะเหมาะกับคอนแทคเลนส์แบบใด ขึ้นอยู่กับสภาพของดวงตาและลักษณะการใช้งานสายตาที่ต้องการ ซึ่งการเลือกคอนแทคเลนส์ที่ถูกต้องกับการใช้งานและเหมาะสมกับสภาพดวงตา จะทำให้มองเห็นได้ชัดเจนทั้งระยะใกล้และไกลโดยไม่ต้องพึ่งแว่นตา ตัวอย่างการแก้ไขสายตายาวสูงอายุด้วยคอนแทคเลนส์เช่น คอนแทคเลนส์ Monovision คอนแทคเลนส์ Modified Monovision คอนแทคเลนส์ Soft Multifocal คอนแทคเลนส์ Bifocal RGP รวมทั้งคอนแทคเลนส์สายตายาวสูงอายุเฉพาะบุคคลเช่น สำหรับคนเคยทำเลสิกหรือ PRK , สำหรับกระจกตาบิดเบี้ยวผิดรูป(Irregular Cornea) , สำหรับผู้ตาแห้ง ฯลฯ
การแก้ไขสายตาด้วยวิธีการผ่าตัดเช่น เลสิก PRK CK ฯลฯ ส่วนใหญ่จะได้ผลการรักษาที่ดี อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งพบว่าหลังการผ่าตัดแก้ไขสายตา คนไข้กลับมีอาการตามัว(ซึ่งพบเป็นส่วนน้อย) โดยอาการตามัว อาจเกิดจากสาเหตุเช่น ยังมีค่าสายตาหลงเหลืออยู่ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่แล้วแต่ความเหมาะสม การรักษาแผลที่ผิดปกติของคนไข้ ตัวอย่างเช่นเมื่อถูกมีดบาด บางคนเมื่อแผลหายแล้วผิวเรียบสนิท แต่บางคนกลับเกิดแผลเป็นนูนที่เรียกกันว่าคีลอยด์ Keloid ขึ้นมา การรักษาแผลของกระจกตาก็เช่นเดียวกัน โดยผู้ที่มีการรักษาแผลที่ไม่ดี หลังแผลหายอาจทำให้กระจกตาไม่เรียบ ส่งผลให้การมองเห็นไม่คมชัดเต็มที่แม้ไม่มีค่าสายตาหลงเหลือแล้วก็ตาม ซึ่งในกรณีหลังแพทย์อาจพิจารณาไม่ทำการผ่าตัดแก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากการผ่าซ้ำที่เดิมอาจทำให้รอยแผลเป็นกลับแย่ลงก็ได้จากการรักษาแผลที่ผิดปกติของคนไข้ เกิดกระจกตาปูดหลังจากการผ่าตัด(Corneal Ectasia) เนื่องจากกระจกตาที่เหลืออยู่ไม่แข็งแรงพอที่จะต้านทานความดันลูกตาได้ ซึ่งกระจกตาปูดดังกล่าวอาจเกิดทันทีหลังจากการผ่าตัด หรือเกิดหลังจากการผ่าตัดไปแล้วหลายปีก็ได้ กระจกตาขึ้นฝ้า (Corneal Haze) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของร่างกาย ทำให้กระจกตามีความขุ่นอยู่ในเนื้อกระจกตา แต่โดยมากเมื่อเวลาผ่านไป Haze จะค่อยๆลดลงได้เอง คนไข้ส่วนใหญ่ที่ตามัวหลังจากการทำเลสิกมักจะไม่มีปัญหากับการดำรงชีวิตเนื่องจากส่วนใหญ่ตาจะมัวลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ดี ถ้าคนไข้มีปัญหากับการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนไข้ต้องใช้สายตาดูสิ่งเล็กๆละเอียดๆให้คมชัด สามารถใช้คอนแทคเลนส์เฉพาะบุคคลแก้ไขทั้งค่าสายตาที่หลงเหลือและความไม่เรียบของกระจกตา ทำให้สามารถใช้สายตาได้อย่างชัดเจนได้ (ยกเว้นถ้าความมัวเกิดจากกระจกตาขึ้นฝ้า (Corneal Haze) จะไม่สามารถแก้ไขด้วยคอนแทคเลนส์ได้) โดยการแก้ไขด้วยคอนแทคเลนส์เฉพาะบุคคลขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละกรณี ดังนี้ คอนแทคเลนส์ส่วนใหญ่ต้องเป็นชนิดสั่งตัดเฉพาะ เนื่องจากกระจกตาของผู้ที่ผ่านการผ่าตัดแก้ไขสายตาที่กระจกตา มีความแตกต่างจากคนทั่วไปคือ ถ้าผ่านการแก้ไขสายตาสั้นมาบริเวณกลางกระจกตาจะแบน ดังนั้นจึงควรใช้คอนแทคเลนส์ที่ออกแบบผิวหลังแบบ…