02-734-0911-2, 081-7344-552 thaidoctorvision@gmail.com [gtranslate]

สายตาช่วงอายุระหว่าง 11-25 ปี[AT022]

สายตาช่วงอายุระหว่าง 11-25 ปี วัยนี้เป็นวัยแห่งการศึกษาเล่าเรียน จึงมีกิจกรรมที่ต้องใช้สายตามาก เช่น การเรียนหนังสือ อ่านหนังสือเตรียมสอบ ทำการบ้าน เล่นเกมส์ เล่นคอมพิวเตอร์ ฯลฯ คนในวัยนี้ต้องใช้สายตาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นเมื่อการมองเห็นมีปัญหาจึงส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆอย่างหนีไม่พ้น ทำให้การเรียนรู้ถูกจำกัด ดังนั้นคนในวัยนี้จึงควรได้รับการตรวจสายและแก้ไขให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและสบายตาอยู่เสมอ Myopic shift & Myopic control  (สายตาสั้น และการควบคุมสายตาสั้น) วัยนี้เป็นวัยแห่งการเจริญเติบโต ในทางร่างกายจะมีความสูงเพิ่มขึ้น โครงสร้างร่างกายเปลี่ยนเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น นอกจากการเจริญเติบโตทางร่างกายแล้ว สายตาก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน โดยเด็กวัยนี้ค่าสายตามีแนวโน้มที่จะสายตาสั้นเพิ่มขึ้น (หรือสายตายาวน้อยลง) สาเหตุในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยปัจจัยที่น่าจะเกี่ยวข้องกับสายตาสั้นเพิ่มเช่น พันธุกรรม กระบอกตาที่ยาวขึ้น การใช้สายตาระยะใกล้เป็นเวลานาน การมีกิจกรรมกลางแจ้งน้อย ฯลฯ อนึ่งค่าสายตาที่สั้นเพิ่มขึ้น ส่งผลเสียหลายอย่างเช่น เลนส์แว่นตาหนาขึ้น ทำให้แว่นหนักขึ้น มีผลทั้งทางด้านความสวยงาม และความสบายตา เนื่องจากยิ่งเลนส์หนาขึ้น ยิ่งทำให้แว่นมีน้ำหนักมากขึ้น และยังทำให้เกิดความไม่สบายตาเมื่อเหลือบมองด้านข้าง เนื่องจากผลของปริซึม (Prismatic Effect) และความบิดเบือนของภาพเมื่อมองผ่านเลนส์ด้านข้าง (Aberration) ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก นอกจากจะทำให้ต้องใส่แว่นหนาแลดูไม่สวยงามแล้ว…

Read More »

สายตาช่วงอายุระหว่าง 3-10 ปี[AT021]

สายตาช่วงอายุระหว่าง 3-10 ปี เด็กวัยนี้เป็นวัยที่เด็กเริ่มต้องเข้าโรงเรียน สิ่งสำคัญสองอย่างของเด็กวัยนี้คือ การดูแลให้เด็กสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และการปกป้องดวงตาของพวกเขาจากอันตรายต่างๆรอบตัว เด็กควรมองเห็นได้อย่างชัดเจนเพื่ออนาคตที่สดใสของพวกเขา    มีสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้มากมายรออยู่ที่โรงเรียน และการเรียนรู้กว่า 80% เกิดจากการมองเห็น ดังนั้นการมองเห็นได้อย่างชัดเจนจึงเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่เด็กทุกคนในวัยนี้ต้องการ การมองเห็นไม่ชัดเจนอาจสร้างปัญหาแก่เด็กได้หลายอย่างเช่น ผลการเรียนไม่ดี: การมองเห็นไม่ชัดเจน ส่งผลโดยตรงกับผลการเรียนของเด็ก เช่น ถ้าเด็กสายตาสั้น จะไม่สามารถมองสิ่งที่อยู่ระยะไกลได้อย่างชัดเจน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจที่ครูสอนแม้เป็นสิ่งง่ายๆ ขาดความตั้งใจเรียน: เมื่อเด็กมองเห็นไม่ชัดแล้ว เด็กอาจขาดความสนใจสิ่งที่ครูสอน เนื่องจากครูพูดอะไร หรือให้ดูอะไรก็มองเห็นไม่ชัด ทำให้หันไปสนใจอย่างอื่นใกล้ๆตัวที่เห็นชัดเจนกว่า เช่น วาดการ์ตูน อ่านการ์ตูน หรือชวนเพื่อนคุย ฯลฯ     เด็กที่มองเห็นได้ชัดเจน(รูปซ้าย)   จะเรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กที่มองเห็นไม่ชัด(รูปขวา) ขาดความมั่นใจ: เด็กที่มองเห็นไม่ชัดและไม่เข้าใจในสิ่งที่ครูสอน เมื่อครูเรียกตอบคำถามเด็กอาจตอบผิด การที่เด็กตอบผิดบ่อยๆอาจส่งผลให้เด็กกลัวการตอบคำถาม กลายเป็นเด็กขาดความมั่นใจได้ ขาดความสดใสร่าเริง: เด็กอาจรู้สึกตนเองว่ามีปมด้อย ที่ไม่สามารถเห็นอย่างที่คนอื่นเห็นได้ รู้สึกว่าตนเองบกพร่องแต่ไม่กล้าบอกผู้ปกครอง เด็กอาจเก็บความรู้สึกไว้คนเดียว กลายเป็นปมด้อยได้ หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง: การมองเห็นไม่ชัดอาจเป็นข้อจำกัดในการทำกิจกรรมนอกห้องเรียนหลายอย่าง เช่น  เตะฟุตบอล โยนรับห่วงยาง เล่นโบลาเรียกชื่อ ฯลฯ…

Read More »

สายตาช่วงอายุระหว่าง แรกเกิด-3 ปี[AT020]

สายตาช่วงอายุระหว่าง แรกเกิด-3 ปี สำหรับทารก ดวงตาถือเป็นสิ่งสำคัญที่เชื่อมโยงทารกกับโลกรอบๆตัว เนื่องจากทุกอย่างรอบตัวทารกคือสิ่งใหม่ ดังนั้นเด็กน้อยจึงต้องเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง การเรียนรู้ทางการมองเห็นเป็นสัดส่วนสูงถึง 80% เมื่อเทียบกับการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสอื่นคือ จากการได้ยิน การได้กลิ่น การรับรู้รส การสัมผัส  (www.VisionAndLearning.org) ดังนั้น เด็กที่มีปัญหาในการมองเห็น จะส่งผลให้การเรียนรู้ถูกจำกัด ทำให้พัฒนาการไม่ดีเท่าที่ควร เราจึงควรแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เร็วที่สุด เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย อนึ่ง พัฒนาการที่ล่าช้าจะเป็นสาเหตุของปัญหามากมายในอนาคตเช่น อาจให้เด็กขาดความมั่นใจ เป็นเด็กที่มีปมด้อยและมีปัญหาได้ โมบายของเล่นสีสดใส ช่วยกระตุ้นการมองเห็นได้ดี ทารกแรกเกิด มีการมองเห็นที่ยังไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่ โดยทารกจะมีพัฒนาการทางการมองเห็นดีขึ้นเรื่อยๆ พัฒนาการจะเป็นไปอย่างรวดเร็วในช่วงปีแรก และหลังจากนั้นการมองเห็นจะดีขึ้นอย่างช้าๆจนกระทั่งเห็นได้ดีเทียบเท่าผู้ใหญ่เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น โดยลำดับขั้นพัฒนาการทางการมองเห็นเป็นดังนี้ อายุ พัฒนาการ สิ่งที่ทารกสามารถมองเห็น/ทำได้ แรกเกิด VA 20/200 นิ้วมือของตัวเอง รอยยิ้ม ดวงตา จมูกของแม่ โมบายอันใหญ่ที่แขวนบนเตียง 2 สัปดาห์ เห็นสีที่แตกต่างได้ แยกความแตกต่างของสีแดงและเขียว ที่มีความสว่าง(Brightness) เท่ากันได้(UC Berkeley) 1 เดือน VA 20/120…

Read More »

ใส่แล้วเมื่อยตา งงหัว[AT001]

ใส่แล้วเมื่อยตา งงหัว คุณอนันต์ อายุ 28 ปี เคยตัดแว่นจากที่ร้าน เข้ามาปรึกษาบอกว่าแว่นตาอันใหม่ที่ตัดจากร้านอื่นใส่ไม่สบาย ทำงานคอมพิวเตอร์ได้สักพักจะมีอาการเมื่อยล้าดวงตา ถ้าใช้แว่นนานกว่า 2 ชั่วโมงจะมีอาการปวดตา เนื่องจากคุณอนันต์ต้องย้ายที่ทำงานไปต่างจังหวัด จึงไม่สะดวกที่จะมาตัดที่ร้านหมอแว่น ทางร้านจึงขอนำแว่นอันใหม่มาวัดและตรวจสายตา ประกอบแว่นให้ตามปกติ หลังจากวัดสายตาให้คุณอนันต์แล้ว และเทียบกับแว่นตาอันที่ใส่แล้วมีปัญหา ปรากฏว่าค่าสายตาของแว่นไม่ตรงกับค่าสายตาของคุณอนันต์ โดยแว่นที่มีปัญหาให้สายตาสั้นมากเกินไป และเอียงน้อยเกินไปด้วย ทางร้านจึงตัดแว่นใหม่ให้ หลังจากที่คุณอนันต์รับแว่นใหม่ที่ทางหมอแว่นตัดให้ไปใช้ อาการปวดตาเมื่อยตาก็หายไปและกลับมาใช้คอมพิวเตอร์ได้วันละหลายชั่วโมงตามปกติ  อนึ่ง แว่นตาที่ใส่แล้วมองเห็นชัดอาจไม่ใช่แว่นที่ใส่แล้วสบายตาเสมอไป ดังนั้นแว่นที่ใส่แล้วชัด จึงอาจเป็นแว่นที่ใส่แล้วสบายตาหรือไม่ก็ได้ แต่แว่นที่ดี จะต้องให้ทั้งความชัดเจนและความสบายตา อนึ่ง ค่าพารามิเตอร์ของแว่นที่จะทำให้คุณอนันต์เห็นได้ชัดเจน อาจมีถึงหลายร้อยค่า แต่ค่าเหล่านั้นอาจจะมีเพียงค่าเดียวที่ดีที่สุด ซึ่งการหาค่าดังกล่าวต้องเกิดจากการวัดสายตาได้อย่างแม่นยำ ประสบการณ์ในการจ่ายเลนส์ และการประกอบแว่นให้ได้ตรงตามพารามิเตอร์ ยกตัวอย่างค่าสายตาที่คุณอนันต์บอกว่ามีความชัดเจนดีไม่แตกต่างกันสองค่าคือ  ตาขวา -4.00 -3.00 x 175  PD 31 ตาซ้าย -4.50 -2.50 x 16 PD 30.5 กับ ตาขวา -5.00…

Read More »

แว่น Progressive ตัดแล้วใส่ไม่ได้[AT004]

แว่นProgressive ตัดแล้วใส่ไม่ได้ คุณอุดร อายุ 46 ปี มาที่ร้านเนื่องจากเพิ่งตัดแว่นและเลนส์โปรเกรสซีฟไปจากร้านแว่นแห่งหนึ่งแต่ใช้งานไม่ได้ เมื่อนำแว่นกลับไปที่ร้านเดิมที่ตัดมาร้านบอกว่าให้ปรับตัว หลังจากที่คุณอุดรได้พยายามใช้สักพักแล้วก็ยังรู้สึกว่าปรับตัวเข้ากับแว่นไม่ได้ เมื่อเล่าให้เจ้านายที่ทำงานอยู่ด้วยกัน จึงได้รับคำแนะนำให้มาที่ร้านหมอแว่น เนื่องจากเจ้านายของคุณอุดรตัดแว่นโปรเกรสซีฟกับร้านนี้แล้วไม่มีปัญหา   ค่าพารามิเตอร์ที่วัดปรับให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ล่ะบุคคล   เมื่อตรวจสายตาคุณอุดร(ตาขวา -2.50 -0.50×175 ตาซ้าย -2.00 -0.25×020 Add +1.25 D.)  และเทียบกับแว่น  โปรเกรสซีฟที่ตัดมา(ตาขวา -3.00 D/ ตาซ้าย -2.75 D Add +1.25) ทำให้ทราบว่าค่าสายตาของแว่น สูงกว่าที่ควรจะเป็นเล็กน้อย และเมื่อวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆในการประกอบแว่นโปรเกรสซีฟอย่างละเอียด พบว่าค่าหลายค่าไม่เหมาะสมกับคุณอุดร จากที่กล่าวมาน่าจะเป็นสาเหตุทำให้คุณอุดรใส่แว่นได้ไม่สบายตาและปรับตัวเข้ ากับแว่นไม่ได้เสียที ทางร้านจึงแก้ไขโดยการตัดเลนส์คู่ใหม่ลงในกรอบเดิม และตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆให้เหมาะสมกับตาคุณอุดร พร้อมทั้งแนะนำวิธีการใช้งานและการปรับตัวเข้ากับแว่นโปรเกรสซีฟให้ ปรากฏว่าคุณอุดรสามารถปรับตัวเข้ากับแว่นใหม่ได้ภายใน 1 สัปดาห์ และรู้สึกพอใจกับแว่นอันใหม่เป็นอย่างมาก อนึ่ง การประกอบเลนส์โปรเกรสซีฟเข้ากับแว่นให้ใส่ได้สบายนั้น เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น การซักประวัติเพื่อให้รู้ถึงความต้องการในการใช้สายตาของลูกค้า การเลือกโครงสร้างแว่นให้เหมาะสมกับการใช้งาน การวัดสายตาที่มีความแม่นยำ การประกอบเลนส์เข้ากับแว่น ซึ่งต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูง  การแนะนำการใช้แว่นโปรเกรสซีฟกับลูกค้า…

Read More »

เลือกเลนส์ไม่เหมาะกับงานแล้วปวดเมื่อยคอ[AT005]

เลือกเลนส์ไม่เหมาะกับงานแล้วปวดเมื่อยคอ รูป การใช้เลนส์ที่ไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยคอหรือหลังได้ คุณทรงศักดิ์(นามสมมุติ) อายุ 48 ปี พาลูกมาตัดแว่นที่ร้านเนื่องจากเพื่อนแนะนำว่าทางร้านหมอแว่นสามารถวัดสายตาเด็กได้ แต่ตัวคุณทรงศักดิ์เองไม่ได้เป็นลูกค้าของร้าน หลังจากวัดสายตาน้องแพทเสร็จแล้ว คุณทรงศักดิ์ได้ปรึกษาเกี่ยวกับอาการปวดคอเนื่องจากการใช้สายตา จากการสอบถาม ได้ความว่า ปัจจุบันคุณทรงศักดิ์ทำงานเป็นรองผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทแห่งหนึ่ง กิจกรรมในแต่ละวันคือ การประชุมและการวางแผนการขายโดยใช้คอมพิวเตอร์ แว่นที่ใช้อยู่เป็นแว่นโปรเกรสซีฟ 1 อันสำหรับใส่ทั้งวัน โดยใช้แว่นกับคอมพิวเตอร์วันละประมาณ 2-3 ชั่วโมง จากข้อมูลที่ได้ทางร้านสันนิษฐานว่าอาการปวดคอของคุณทรงศักดิ์ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้สายตา แต่น่าจะเกิดจากการใช้แว่นโปรเกรสซีฟทำคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้หน้าอยู่ลักษณะเงยขึ้นเล็กน้อย ถ้าใช้ชั่วคราวจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าต้องใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการปวดคอได้ ทางร้านจึงแนะนำให้ทำแว่นเพิ่มอีก 1 อัน สำหรับใช้งานคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เหมาะกับผู้ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันแว่นใหม่นี้จะทำให้คุณทรงศักดิ์เห็นได้ชัดตั้งแต่ระยะอ่านหนังสือถึงระยะจอคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเงยหน้ามอง เลนส์มีมุมมองกว้าง ทำให้สามารถเหลือบตามองจอคอมพิวเตอร์ได้เต็มจอโดยไม่ต้องใช้การหันหน้าช่วยคุณทรงศักดิ์จึงตกลงทำแว่นตาอีกอันตามที่หมอแว่นแนะนำ หลังจากใช้แว่นอันใหม่ทำคอมพิวเตอร์ อาการปวดคอของคุณทรงศักดิ์ก็หายไป ทำให้สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้นานขึ้นและสบายขึ้นเพราะไม่ต้องปวดคอเหมือนแต่ก่อน ในปัจจุบันบริษัทเลนส์ ได้ออกแบบเลนส์โครงสร้างต่างๆออกมามากมาย โดยเลนส์แต่ละโครงสร้างก็เหมาะกับการใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ถ้าท่านมีปัญหากับการใช้สายตา หรือการปวดคอปวดหลังจากการใช้สายตาอย่างไม่ถูกอิริยาบถ  การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกใช้เลนส์ที่เหมาะสม อาจทำให้อาการต่างๆเหล่านั้นลดน้อยลงหรือหายไปได้ รูป ลักษณะท่าทำงานที่เหมาะสม ทำให้อาการปวดเมื่อยลดลง

Read More »

แว่นที่เคยใส่ได้ดี ทำไมกลับใส่แล้วไม่สบายตา งงหัว[AT006]

แว่นที่เคยใส่ได้ดี ทำไมกลับใส่แล้วไม่สบายตา งงหัว คุณทรงพล อายุ  26 ปี เป็นลูกค้าประจำของร้านหมอแว่น เพิ่งตัดแว่นใหม่ไปประมาณ 4 เดือน บอกว่ารู้สึกงงหัวทุกครั้งเมื่อใส่แว่นตา จากการสอบถาม คุณทรงพลบอกว่าเพิ่งเป็นได้ประมาณ 4 วัน โดยหลังจากตัดแว่นไปแล้วได้ใส่แว่นทุกวันแต่ก็ไม่มีปัญหา ลักษณะการใช้สายตาใน 4 วันที่ผ่านมาก็เหมือนอย่างเคย โดยใส่แว่นทั้งวัน ทำคอมพิวเตอร์ ขับรถ และอ่านหนังสือ จากการพูดคุยกัน สังเกตเห็นลักษณะแว่นของคุณทรงพลไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเมื่ออยู่บนหน้า ทางร้านจึงขอนำแว่นมาตรวจดู พบว่าแว่นเบี้ยวเล็กน้อย จึงทำการปรับแต่งแว่นให้เข้ากับใบหน้าและให้ลองใส่แว่นดูอีกครั้ง คุณทรงพลบอกว่าสบายตาขึ้น หลังจากการลองใส่ 15 นาที ก็ไม่รู้สึกงงหัวแต่อย่างใด จากการสอบถามเพิ่มเติมคุณทรงพลเล่าให้ฟังว่าก่อนหน้านี้ได้เผลอนอนหลับโดยไม่ได้ถอดแว่น เมื่อตื่นมาเห็นว่าแว่นเบี้ยวไปเล็กน้อยจึงพยายามดัดให้เป็นเหมือนเดิมและก็ใช้งานตามปกติ เพราะคิดว่าไม่เป็นอะไร คิดไม่ถึงว่าเพียงแค่แว่นเบี้ยวเล็กน้อยก็ทำให้เกิดอาการงงหัวได้ อนึ่ง เมื่อแว่นเสียรูปหรือบิดงอแล้ว การดัดแว่นอย่างขาดความเชี่ยวชาญ อาจเป็นสาเหตุทำให้ใช้แว่นแล้วไม่สบายตา โดยแว่นที่เสียรูปไปทำให้ค่าตัวแปรต่างๆของแว่นตาเปลี่ยนไป เช่นค่าความโค้งหน้าแว่น ค่ามุมเทของแว่น ค่าระยะระหว่างหลังเลนส์ถึงกระจกตา ตำแหน่งของรูม่านตาเมื่อเทียบกับแว่นฯลฯ ซึ่งค่าที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ เป็นสาเหตุทำให้ใส่แว่นแล้วมีอาการไม่สบายตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเลนส์ที่มีค่าสายตาสูง เลนส์โปรเกรสซีฟ ผู้ที่ใช้สายตาเยอะ หรือผู้ที่มีความรู้สึกไวในการมองเห็น ฯลฯ ดังนั้น…

Read More »

งงหัวเนื่องจาก PD ไม่ตรง สายตาเยอะ[AT008]

งงหัวเนื่องจาก PD ไม่ตรง สายตาเยอะ             คุณทศพล (นามสมมุติ) อาชีพพนักงานบริษัท  อายุ 35 ปี เข้ามาตรวจสายตาที่ร้านหมอแว่นเพราะเพื่อนแนะนำมา  โดยคุณทศพล เพิ่งไปตัดแว่นมาใหม่ แต่ใส่ไม่สบาย ภาพแสดง Prismatic Effect ของเลนส์นูน(ภาพบน) และเลนส์เว้า(ภาพล่าง) การตั้งศูนย์แว่นไม่ตรง อาจส่งผลต่อความสบายตาได้ จากการตรวจสอบแว่นเดิมที่เพิ่งตัดมาได้สามสัปดาห์ ค่าสายตา ข้างขวา / ข้างซ้ายคือ  -6.50 D. / -6.00 D. PD แว่นตา 34/34 มม. คุณทศพลบอกว่าแว่นอันเดิมใส่แล้วมองไม่ชัด แต่ไม่มีปัญหาปวดตา แต่มาเริ่มปวดตาเมื่อใส่แว่นใหม่ที่เพิ่งตัด โดยจะเริ่มปวดเมื่อใส่แว่นและมองใกล้ ใช้สายตาได้ไม่เกิน 15 นาทีจะเริ่มมีอาการปวดตา เมื่อกลับไปร้านเดิมที่ตัดแว่น ทางร้านแก้ไขปัญหาให้ไม่ได้ โดยบอกกับคุณทศพลว่า แว่นใหม่ค่าสายตาเยอะ ต้องใช้เวลาปรับตัวประมาณ 2 สัปดาห์ จากการวัด PD จริง ได้ค่า PD ของคุณทศพล เมื่อมองไกลคือ…

Read More »

แว่นสำเร็จรูป เลือกอย่างไรให้ใส่แล้วสบายตา[AT031]

แว่นสายตาสำเร็จรูปที่ขายตามท้องตลาด ถ้าสายตาไม่เหมาะสมอาจทำให้ใส่แล้วมองเห็นไม่ชัดหรือไม่สบายตา คุณสนอง (นามสมมุติ) อายุ 45 ปี มาปรึกษาทางร้านหมอแว่น เนื่องจากมีอาการไม่สบายตาปวดตาถ้าอ่านหนังสือพิมพ์เป็นระยะเวลานาน  จากการซักถามคุณสนองอ่านหนังสือพิมพ์โดยใส่แว่นอ่านหนังสือสำเร็จรูปที่ซื้อมาใช้เองแว่นทีซื้อมามีหลายอัน บางอันใส่แล้วสบายตาแต่บางอันใส่แล้วไม่สบายตา   จึงพยายามเลือกเอาอันที่ใส่แล้วสบายตามากที่สุดคืออันที่ใช้อยู่ปัจจุบันแต่อ่านไปสักพักก็ยังมีอาการอยู่     เมื่อตรวจสายตาปรากฏว่าค่าสายตาของคุณสนองคือตาขวา-0.25-0.25×165 D.   ตาซ้าย   -0.50-0.50×30 D. Add+1.00 D. จากค่าสายตามีสั้นและเอียงเล็กน้อยปกติคุณสนองไม่เคยตัดแว่นตาเพื่อมองไกลเนื่องจากยังรู้สึกว่าเห็นได้ชัดอยู่เมื่อวัดค่าแว่นอ่านหนังสือที่ใช้เป็นประจำ ได้ค่า +0.75 ทั้งสองตา และ PD=70 mm.ในขณะที่แว่นตาที่ถูกต้องสำหรับค่าสายตาของคุณสนอง(เมื่อไม่คิดค่าสายตาเอียง) คือ ตาขวา +0.75 D. ตาซ้าย +0.25 D. และ PD = 61 mm. และเมื่อทางร้านให้คุณสนองลองใส่แว่นที่มีค่าสายตาและค่า PD ตรงคุณสนองสามารถอ่านหนังสือได้เป็นระยะเวลานานโดยไม่มีอาการไม่สบายตาหรือปวดตาแต่อย่างใด อนึ่งการซื้อแว่นสำเร็จรูปเปรียบเหมือนกับการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปใช้ซึ่งต้องทำใจว่า ขนาดของเสื้อผ้า อาจไม่พอดีกับร่างกายเรา อย่างไรก็ดี สำหรับเสื้อผ้าเราสามารถเลือกขนาดและสัดส่วนให้ตรงกับร่างกายของเราได้ เนื่องจากเราเห็นว่าเสื้อผ้านั้นมีขนาดเท่าไร แตกต่างกับแว่นสายตาสำเร็จรูป ซึ่งเราไม่สามารถทราบค่า PD ของเลนส์แว่นตาได้ ดังนั้นแม้เมื่อลองแว่นแล้วทำให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น เมื่อใส่ไปสักอาจเกิดความไม่สบายตาได้ การเลือกแว่นตาสำเร็จรูปที่ใส่แล้วทำให้เห็นได้ชัดเจนและสบายตานั้น อาจต้องอาศัยหลายปัจจัยประกอบกันคือ…

Read More »

การเลือกแว่นกันแดด[AT029]

แว่นกันแดด มีหลักการเลือกอย่างไร ขออนุญาตไม่พูดถึงการเลือกแว่นให้เข้ากับใบหน้าแต่จะเน้นที่ประโยชน์การใช้งานครับ 1.สำคัญที่สุด อันดับแรกแว่นกันแดดควรป้องกันรังสียูวีครับ โดยควรป้องกันรังสี UVA และ UVB ได้ 100% อย่าเชื่อคนขายหรือสติกเกอร์ที่ติดที่แว่นตาครับ แนะนำให้เชื่อเครื่องทดสอบการป้องกันรังสียูวี ร้านไหนไม่มีเครื่องทดสอบ ถ้าอยากซื้อจริงๆก็ต้องเสี่ยงดวงดูครับ 2.เลือกแว่นที่มีความทึบแสงพอสมควรเพื่อป้องกันแสงอาทิตย์ที่สว่างมาก การเลือกอาจสังเกตจากเมื่อท่านมองกระจกไม่ควรเห็นดวงตาของตนเอง 3.เลือกสีที่ไม่ทำให้การมองเห็นสีเพี้ยนสีที่ควรเลือกคือสีเทา น้ำตาล และเขียว ไม่ควรเลือกสีแดงหรือสีน้ำเงินเพราะจะทำให้เห็นสีเพี้ยนค่อนข้างมากและสีน้ำเงินอาจยังให้รังสียูวีผ่านเข้าสู่ดวงตาได้ด้วย 4.ถ้าท่านมีกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน แนะนำให้ใช้แว่นที่ป้องกันแสงจากด้านข้างด้วย เลือกแว่นให้เข้ากับรูปหน้า ถ้าแว่นโอบรอบดวงตาและแนบสนิทกับผิวหนังเลยจะดีมากเพื่อป้องกันรังสียูวีที่จะเข้าสู่ดวงตาทางอื่น เช่นจากทางด้านบนถ้ามีพื้นที่เหลือระหว่างโหนกคิ้วกับแว่นตา หรือจากทางด้านข้างถ้าขาแว่นมีขนาดเล็ก อนึ่งการใส่แว่นตาที่กรอบมีความโค้งสูงเช่นแว่น Oakley อาจทำให้ท่านรู้สึกมึนงงได้ในระยะแรก ถ้ารู้สึกงงไม่มากท่านจะปรับตัวได้และอาการงงจะหายไปหลังจากใช้ไปสักพัก(1-2 สัปดาห์) แต่ถ้ารู้สึกงงมากท่านอาจไม่เหมาะกับแว่นชนิดที่มีกรอบโค้งมากๆพวกนี้ 5.เลือกแว่นที่มีน้ำหนักเบา ทำให้ใส่สบายเมื่อต้องใส่เป็นระยะเวลานาน 6.ถ้าเลนส์แว่นตาทำจากวัสดุโพลีคาร์บอเนต จะทำให้เลนส์มีคุณสมบัติกันกระแทกและแตกยากด้วย สำหรับคนที่มีกิจกรรมผาดโผน หรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับอุบัติเหตุทางตาเช่นนักกีฬา 7.ถ้าท่านชอบกิจกรรมทางน้ำ ชอบไปทะเล ลงเรือ แนะนำให้ใช้เลนส์ที่มีโพลาไรซ์ฟิลเตอร์ จะช่วยตัดแสงสะท้อนที่ผิวน้ำได้มาก ถ้าได้ลองแล้วท่านจะไม่อยากใส่เลนส์ชนิดอื่นไปทะเลอีกเลย 8.โดยส่วนตัวผู้เขียนชอบใช้เลนส์ที่มี โพลาไรซ์ฟิลเตอร์ จะช่วยลดแสงสะท้อนได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงสะท้อนจากผิวน้ำหรือพื้นถนน แต่ข้อเสียของเลนส์ชนิดนี้คืออาจทำให้มองเห็นกระจกรถเป็นสีรุ้งได้ ถ้าจะซื้อแว่นชนิดนี้แนะนำให้ขอไปลองใส่ในรถที่ขับประจำดูก่อน เพราะบางคนอาจรู้สึกรำคาญสีรุ้งที่เห็นและไม่ชอบแว่นชนิดนี้ จะได้ไม่เสียเงินเปล่าครับ 9.อาจทดสอบเลนส์โดยการถือแว่นและยืดแขนให้สุด มองผ่านเลนส์ไปยังเส้นตรง ถ้าเห็นเส้นตรงบิดเบี้ยว(ทั้งๆที่เลนส์ไม่มีค่าสายตา)…

Read More »