02-734-0911-2, 081-7344-552 thaidoctorvision@gmail.com [gtranslate]

FAQ สายตาสั้น2.???[AT014]

สายตาสั้นคืออะไร……??? นิยามของสายตาสั้นคือ “ภาวะผิดปกติของการหักเหแสง (Refractive Error) ในลูกตา  ทำให้แสงมีการโฟกัสก่อนจอตา (Retina) ในขณะที่ไม่มีการเพ่ง(Accommodation) ของเลนส์ตา” อธิบายให้เข้าใจง่ายคือภาวะที่แสงโฟกัสเร็วเกินไปภายในลูกตา ทำให้เมื่อมองไกล แสงจะไม่โฟกัสพอดีที่จอตา ทำให้เห็นภาพไม่ชัดเจน ผู้สายตาสั้นจะมองไกลไม่ชัดและจะมองใกล้ได้ชัดเจนกว่ามองไกล รูปเทียบ ทางเดินแสงของสายตาปกติและสายตาสั้น   ทำไมคนสายตาสั้นจึงมองไกลไม่ชัดแต่มองใกล้ชัด…….??? เมื่อมองไกล เวอร์เจนซ์ (Vergence) ของแสงจากวัตถุที่ระยะไกลจะขนานกัน เมื่อแสงเข้าสู่ดวงตาของคนสายตาสั้นจะเกิดการหักเหและโฟกัสก่อนถึงจอตาดังรูป 1 ทำให้มองเห็นไม่ชัดที่ระยะไกลเนื่องจากแสงไม่โฟกัสพอดีที่จอตา เมื่อมองวัตถุที่อยู่ใกล้ เวอร์เจนซ์ของแสงจากวัตถุระยะใกล้จะถ่างออก (Divergence) ทำให้เมื่อแสงผ่านเข้าตาแล้วโฟกัสห่างจากกระจกตามากขึ้น เมื่อค่าไดเวอร์เจนซ์ของแสงเท่ากันกับค่าสายตาสั้น จะทำให้แสงโฟกัสที่จอตาพอดีทำให้เห็นภาพชัดดังรูป 2 เมื่อวัตถุอยู่ใกล้ตามากขึ้นแสงจากวัตถุจะไดเวอร์เจนซ์มากขึ้น ทำให้แสงโฟกัสเลยจอตาดังรูป 3 ทำให้เห็นภาพไม่ชัด ดังนั้นตาจะทำการเพ่ง(Accommodation) ทำให้เลนส์ตานูนตัวขึ้น และแสงโฟกัสพอดีที่จอตา ทำให้มองเห็นชัดดังรูป 4   สายตาสั้นเกิดจากอะไร…….??? *** สายตาสั้นเกิดได้จากหลายปัจจัยเช่น กระจกตามีกำลังหักเหมากเกินไป เลนส์ตามีกำลังหักเหมากเกินไป กระบอกตายาวเกินไป ค่าดัชนีหักเหในลูกตาสูงเกินไป โดยทุกปัจจัยล้วนแล้วแต่ทำให้แสงโฟกัสก่อนถึงจอตาทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดสายตาสั้น แต่ทราบว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยรวมกันเช่น พันธุกรรม ลูกที่เกิดจากพ่อแม่สายตาสั้นมาก…

Read More »

FAQ สายตายาว..???[AT015]

สายตายาวคืออะไร….??? นิยามของสายตายาวคือ “ภาวะผิดปกติของการหักเหแสง(Refractive Error)ในลูกตา ทำให้แสงมีการโฟกัสหลังจอตา(Retina)ในขณะที่ไม่มีการเพ่ง (Accommodation) ของเลนส์ตา” อธิบายให้เข้าใจง่ายคือภาวะที่แสงโฟกัสช้าเกินไปภายในลูกตา ทำให้เมื่อมองไกล แสงจะไม่โฟกัสพอดีที่จอตา ดังนั้นตาจึงต้องทำการเพ่ง (Accommodation) เพื่อเพิ่มกำลังหักเหของเลนส์ตา ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน อนึ่งผู้สายตายาวจะมองไกลได้ชัดเจนกว่ามองใกล้ และต้องทำการเพ่งอยู่ตลอดเวลาทั้งในการมองระยะไกลและระยะใกล้ ทำให้เกิดอาการสายตาอ่อนล้าได้ง่ายกว่าคนปกติ อนึ่งถ้ามีกำลังสายตายาวสูงมาก อาจทำให้มองเห็นไม่ชัดเจนทั้งไกลและใกล้ได้ รูปเทียบ ทางเดินแสงของสายตาปกติและสายตายาว ทำไมคนสายตายาวจึงมองไกลชัดแต่มองใกล้ไม่ชัด……??? เมื่อมองไกล เวอร์เจนซ์ (Vergence) ของแสงจากวัตถุที่ระยะไกลจะขนานกัน เมื่อแสงเข้าสู่ดวงตาของคนสายตายาวจะเกิดการหักเหและโฟกัสหลังจอตาดังรูป 1 ทำให้มองเห็นไม่ชัดที่ระยะไกลเนื่องจากแสงไม่โฟกัสพอดีที่จอตา ดังนั้นตาจะทำการเพ่ง (Accommodation) ทำให้เลนส์ตานูนตัวขึ้นและแสงโฟกัสพอดีที่จอตา ทำให้มองเห็นชัดดังรูป 2 เมื่อมองวัตถุที่อยู่ใกล้เข้ามา เวอร์เจนซ์ของแสงจากวัตถุระยะใกล้จะถ่างออก (Divergence) ทำให้เมื่อแสงผ่านเข้าตาแล้วโฟกัสห่างจากกระจกตามากขึ้น ทำให้แสงโฟกัสเลยจอตาดังรูป 3 ดังนั้นดวงตาจึงต้องทำการเพ่งเพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้เห็นภาพในระยะใกล้ได้ชัดเจนดังรูป 4 รูป 1 รูป 2 รูป 3 รูป 4 สายตายาวเกิดได้จากหลายปัจจัย  เช่น กระจกตามีกำลังหักเหน้อยเกินไป เลนส์ตามีกำลังหักน้อยเกินไป กระบอกตาสั้นเกินไป ค่าดัชนีหักเหในลูกตาต่ำเกินไป…

Read More »

เดี๋ยวมัว เดี๋ยวชัด เกิดจากอะไรหนอ[AT009]

เดี๋ยวมัว เดี๋ยวชัด เกิดจากอะไรหนอ (Accommodation Infacility) คุณมานพ (นามสมมุติ) อายุ 28 ปี สถาปนิกหนุ่ม ลูกค้าประจำของร้านหมอแว่น เข้ามาเพื่อปรึกษาปัญหาการใช้สายตา โดยปกติคุณมานพใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเขียนแบบ วันละ 6-8 ชั่วโมง แต่เมื่อวานนี้ ขณะเข้าประชุมในช่วงบ่าย สังเกตว่า เมื่อมองจอโปรเจกเตอร์แล้วไม่ชัดในทันที ต้องรอสักพักจึงชัด เมื่อกลับมามองคอมพิวเตอร์ ก็ชัดเจนทันที โดยมีอาการอย่างนี้ทุกครั้ง ทำให้เกิดความไม่สบายใจ เนื่องจากเกรงว่าถ้าดวงตาเป็นอะไรไปแล้วจะกระทบต่อหน้าที่การงานและการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก จึงนัดเพื่อเข้ามาตรวจที่ร้าน จากการตรวจ สายตาคุณมานพเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ยังไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์แว่นตาใหม่ ส่วนปัญหาการมองโปรเจกเตอร์แล้วไม่ชัดในทันทีนั้น เกิดจากปัญหา Accommodation Disorder ที่เรียกว่า Accommodative Infacility ทางร้านจึงแนะนำวิธีการทำ Visual training พร้อมทั้งให้ยืมอุปกรณ์เพื่อไปฝึกบริหารกล้ามเนื้อตาเองที่บ้าน หลังจากนั้น 3 วัน  คุณมานพบอกว่าอาการที่เป็นดีขึ้น และเมื่อฝึกการบริหารกล้ามเนื้อตาได้ 12 วัน ปัญหาดังกล่าวก็หายไป และสามารถมองเห็นได้ชัดเจนทันทีเป็นปกติแล้ว อนึ่ง Accommodation Disorder มีหลายอย่าง…

Read More »

ต้องการเห็นชัดขณะแข่งขัน เล่นกีฬา[AT003]

นักกีฬารักบี้ ต้องการเห็นชัดขณะแข่งขันโดยไม่ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ นาย จักรินทร์ (นามสมมุติ) อายุ 17 ปี นักกีฬารักบี้ทีมโรงเรียนของโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่ง มีปัญหาการเล่นรักบี้เนื่องจากสายตาสั้น -2.00 ทั้งสองข้าง จักรินทร์เคยใส่แว่นตาเล่นรักบี้แต่เลิกใส่เนื่องจากความไม่สะดวกหลายประการเช่น ต้องคอยถอดแว่นเพื่อเช็ดเหงื่อบ่อยๆ ในการฝึกซ้อมต้องมีการปะทะทำให้แว่นหลุดหรือเสียหาย จักรินทร์เปลี่ยนมาใช้คอนแทคเลนส์เมื่อต้องการเล่นรักบี้ แต่มีข้อเสียคือ คอนแทคเลนส์มักหลุดเมื่อมีการปะทะระหว่างแข่งขัน ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน บางครั้งเศษดินเข้าตาทำให้เคืองตามาก ต้องขอเวลานอกหรือแกล้งเจ็บเพื่อให้แพทย์สนามนำน้ำเข้าไปล้างตา และหลังจากล้าง บางครั้งคอนแทคเลนส์หลุดหาย ทำให้มองเห็นไม่ชัด หมอแว่นแนะนำให้น้องจักรินทร์ ใช้เลนส์ OrthoK แก้ไขสายตา โดยการใช้จะใส่เฉพาะเวลานอน คอนแทคเลนส์จะทำการปรับความโค้งของกระจกตาให้มีค่าที่เหมาะสม และเมื่อตื่นนอนให้ถอดออก กระจกตายังคงความโค้งอยู่ได้ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนโดยไม่ต้องใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ในเวลากลางวัน หลังจากการใช้จักรินทร์ดีใจมากที่ไม่ต้องกังวลเรื่องคอนแทคเลนส์หลุดอีกต่อไปเมื่อเล่นกีฬา อนึ่ง การแก้ไขสายตาสั้นโดยการปรับความโค้งกระจกตามีหลายวิธี ที่รู้จักกันดีเช่น Lasik และ PRK แต่โดยมากจักษุแพทย์จะไม่ทำให้เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 21 ปี เนื่องจากค่าสายตายังไม่คงที่ และถ้าเด็กมีกิจกรรมที่ต้องตากแดดบ่อยๆ การทำ Lasik หรือ PRK อาจทำให้เกิดฝ้าขาวที่กระจกตาหลังการผ่าตัด ดังนั้นการแก้ไขสายตาในเด็กที่อายุยังไม่ถึง21 ปี วิธีที่เหมาะสมคือการใช้เลนส์ปรับความโค้งกระจกตา Orthokeratology

Read More »

ปัญหา VIPD เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้[AT024]

ปัญหา VIPD เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ความบกพร่องของการประมวลผลสิ่งที่เห็น  Visual Information Processing Disorder(VIPD) อาจทำให้เด็กมีการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆได้ไม่เต็มที่ บุตรหลานหรือคนที่ท่านรู้จักมีปัญหาเหล่านี้หรือไม่ น้องเคจำคำศัพท์ได้น้อยและช้า สมศรีมีปัญหากับการอ่านแผนที่ น้องแมกซ์มีลายมืออ่านยาก น้องเออ่านหนังสือได้ช้า สมปองมีความลำบากในการอ่านกราฟ ปราณีคิดสิ่งที่ซับซ้อนไม่ได้ นายดำมีความลำบากในการเดินในบ้านตัวเองในที่มึด นายจันทร์มีความจำสั้น สมหมายขับรถชนบ่อยเนื่องจากกะระยะไม่ค่อยถูก มานะหาของที่ต้องการไม่ค่อยเจอ น้องอรสับสนด้านซ้ายและขวา น้องแพนด้าจดงานตามอาจารย์ไม่ค่อยทัน น้องเคคิดช้าไม่ค่อยทันเพื่อน น้องนัททำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ต่ำ น้องอาร์มขาดทักษะทางด้านกีฬา ฯลฯ ถ้าท่านตอบว่าใช่ มีความเป็นไปได้ที่พวกเขาอาจมี “ความบกพร่องของการประมวลผลข้อมูลจากการมองเห็น”( Visual Information Processing Disorder, VIPD) ซึ่ง ความบกพร่องเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยและแก้ไขอย่างถูกต้อง มีคนมากมายที่ประสบกับปัญหาดังกล่าวโดยไม่ทราบมาก่อนว่ามีวิธีแก้ไขหรือฝึกฝนทำให้ความสามารถดังกล่าวดีขึ้นได้ อนึ่ง ปัญหา VIPD เป็นปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาสายตา ดังนั้นผู้ที่มีสายตาปกติ ก็อาจมีปัญหา VIPD ได้ หรือผู้ที่มีปัญหาสายตา สั้น ยาว หรือเอียง ก็อาจจะไม่มีปัญหา VIPD ก็ได้ อีกข้อที่สำคัญคือ การที่เด็กมีปัญหา…

Read More »

รวมคำถาม การควบคุมสายตาสั้น (FAQ : Myopia Control) [AT101]

รวมคำถาม การควบคุมสายตาสั้น (FAQ : Myopia Control)   บุตรหลานสายตาสั้นเพิ่มขึ้นทุกปี ต้องเปลี่ยนแว่นใหม่บ่อยๆ  ทำอย่างไรดี ตอบ ปัจจุบันมีวิธีการที่ทำให้ชลอ หรือหยุดไม่ให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้น เรียกว่า “การควบคุมสายตาสั้น” (Myopia Control) เป็นวิธีทางการแพทย์ที่มีงานวิจัยรองรับ และใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน   ทำไมเมื่อใช้แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์แล้ว พบว่า สายตาสั้นเพิ่มขึ้นทุกปี  ตอบ เพราะว่า การใส่แว่นตา และคอนแทคเลนส์ทั่วไปที่ใช้อยู่ ไม่ได้เป็นการ “ควบคุมสายตาสั้น” เพราะว่าไม่ได้ช่วยชลอ หรือหยุดไม่ให้สายตาสั้นเพิ่ม โดยเป็นแค่เพียง “การแก้ไขสายตาสั้น” เพื่อให้มองเห็นชัดขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเด็กใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ตามร้านแว่นทั่วไป สายตาก็มักจะสั้นเพิ่มขึ้นอีกในเวลาต่อมา   สายตาสั้นเพิ่มขึ้น มีผลเสียอะไรบ้าง   ตอบ สายตาสั้นส่งผลเสียในหลายด้าน เช่น –ด้านสุขภาพตา สายตาสั้นเพิ่มขึ้นมาก ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคตาต่างๆเพิ่มขึ้น  เช่น จอตาฉีกขาดหลุดลอก จอตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน วุ้นตาเสื่อม ฯลฯ โดยหลายโรคอาจมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ –ด้านความคล่องตัวในชีวิตประจำวัน ยิ่งมีสายตาสั้นมาก ก็ยิ่งมีปัญหาในชีวิตประจำวันมาก เนื่องจากยิ่งสั้นมาก…

Read More »

เด็กตรวจตายาก ไม่ให้ความร่วมมือ[AT026]

เด็กตรวจตายาก ไม่ให้ความร่วมมือ น้องณัฐพล (นามสมมุติ) อายุ 6 ปี เรียนชั้นอนุบาล2  โรงเรียนย่านคลองสองต้นนุ่น   มีปัญหาทั้งด้านพฤติกรรมและการเรียน โดยพฤติกรรม มักหยีตามอง ชอบเล่นคนเดียว ไม่เล่นกับเพื่อน เป็นเด็กขาดความมั่นใจ กลัวคน ผลการเรียนไม่ดี ครูประจำชั้นจึงแนะนำคุณแม่ให้พาน้องไปตรวจสายตา คุณแม่พาไปร้านแว่นตาทั่วๆไป 3 ร้าน ทุกร้านไม่สามารถวัดสายตาให้ได้ เนื่องจากน้องไม่ให้ความร่วมมือ ร้านสุดท้ายแนะนำให้ไปตรวจที่โรงพยาบาล โดยไปที่โรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งย่านชานเมือง ครั้งแรกที่พาไป น้องไม่ให้ความร่วมมือ หมอเลยนัดอีกครั้ง ไปครั้งที่สอง ต้องเข้าคิวรอนาน ตั้งแต่ 8.00 น. จนกระทั่ง 12.00 น. ยังไม่ได้ตรวจ น้องรอไม่ไหว คุณแม่เลยต้องพากลับบ้านโดยที่ยังไม่ได้ตรวจตา คุณแม่พาน้องมาตรวจสายตาที่ร้าน หมอแว่น เนื่องจากมีเพื่อนแนะนำมา เมื่อเริ่มการตรวจ น้องค่อนข้างต่อต้านและไม่ให้ความร่วมมือ จึงไม่สามารถใช้เครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์ได้  เมื่อจะใช้ Phoroptor น้องก็ยังไม่ให้ความร่วมมือเช่นเคย เลยต้องใช้เทคนิคเรติโนสโคปร่วมกับ Trial Frame เพื่อให้ได้ค่าสายตา และหาค่าสายตาละเอียดโดยใช้ Handheld JCC…

Read More »

เด็กอยากใส่แว่นตามเพื่อน[AT025]

เด็กอยากใส่แว่นตามเพื่อน คุณพ่อพาน้องแมกซ์(นามสมมุติ)อายุ 14 ปี มาตรวจสายตา เนื่องจากน้องมองเห็นไม่ชัด  จากการตรวจสายตาอย่างคร่าวๆด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  พบว่าน้องแมกซ์มีสายตาสั้นเล็กน้อย ประมาณ -0.75 D.ทั้งสองข้าง เมื่อให้น้องแมกซ์ลองอ่านตัวเลขดูด้วยตาเปล่า น้องบอกว่ามองไม่เห็นอ่านไม่ได้แม้กระทั่งตัวเลขที่  20/100 (ซึ่งจริงๆแล้ว ตัวเลขระดับนี้ เด็กสายตาสั้นเล็กน้อยประมาณ -0.75 D. ต้องอ่านได้อย่างไม่มีปัญหา) ทางร้านจึงตรวจสายตาอย่างละเอียดด้วยเครื่อง Retinoscope  ปรากฏว่าน้องมีค่าสายตาน้อยมากประมาณ -0.25 D. ทั้งสองข้าง และเมื่อให้ลองใส่แว่นตาตามค่าที่ตรวจได้ พบว่าน้องสามารถอ่านตัวหนังสือ 20/20ได้   แว่นแฟชั่นสมัยใหม่ อาจทำให้เด็กบางคนอยากใส่แว่น ปัจจุบัน แว่นตากลายเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่งไปแล้ว สังเกตุเห็นได้ว่าเด็กบางคนใส่แว่นตาแฟชั่นไม่มีเลนส์ หรือมีเลนส์ที่ไม่มีค่าสายตา เด็กบางคนพยายามหาเหตุผลเพื่อให้ได้ใส่แว่นตา ประกอบกับเครื่องวัดสายตาส่วนใหญ่มักวัดค่าสายตาเด็กออกมาสั้นเกินจริง ทำให้เด็กต้องใส่แว่นสายตาทั้งที่ไม่จำเป็น จากผลการตรวจ ทางร้านได้เรียนผู้ปกครองของน้องแมกซ์ว่า จริงๆแล้วน้องแมกซ์มีค่าสายตาสั้นน้อยมาก และการใส่แว่นสายตาจะทำให้น้องแมกซ์มองวัตถุระยะไกลได้ชัดเจนขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้อาจใส่หรือไม่ใส่แว่นก็ได้ สำหรับการที่น้องแมกซ์บอกว่ามองเห็นไม่ชัดน่าจะเป็นเพราะว่าอยากใส่แว่นเหมือนเพื่อน นอกจากนั้น ทางร้านได้แนะนำเพิ่มเติมว่าควรพาน้องแมกซ์มาตรวจสายตาอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือนเนื่องจากวัยนี้เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าสายตาได้รวดเร็ว และถ้าค่าสายตาเพิ่มมากกว่านี้อีกเล็กน้อย อาจถึงเวลาที่น้องแมกซ์ จำเป็นต้องใส่แว่นจริงๆแล้ว บ่อยครั้งที่พบว่า เด็กที่มีสายตาปกติบางคนอยากใส่แว่น และผลตรวจจากเครื่องคอมพิวเตอร์ มักให้ค่าไปในทางสายตาสั้นมากเกินจริง…

Read More »

เด็กกับการใช้คอนแทคเลนส์[AT027]

เด็กกับการใช้คอนแทคเลนส์ น้องแนน อายุ 17 ปี มากับคุณแม่ที่ร้านเนื่องจากคุณแม่มาวัดสายตา  โดยปกติน้องแนนและคุณแม่เป็นลูกค้าประจำของที่ร้านอยู่แล้ว วันนี้สังเกตเห็นน้องแนนใส่คอนแทคเลนส์เปลี่ยนสีตา โดยน้องแนนเห็นเพื่อนใส่แล้วสวยดี จึงทดลองซื้อมาใส่บ้าง เมื่อสอบถามถึงความสบายตา น้องแนนบอกว่าใส่แล้วเคืองตาพอสมควรในวันแรกๆ และขณะนี้ก็ยังเคืองอยู่แต่น้อยลง โดยน้องแนนใส่คอนแทคเลนส์สีมาได้ 3 เดือนแล้ว ทางร้านจึงขอตรวจตาดู จากการตรวจตาโดย Slit Lamp ปรากฏว่าคอนแทคเลนส์มีลักษณะหลวมเกินไป เมื่อกระพริบตาแล้วมีการเคลื่อนที่ของคอนแทคเลนส์มากเกินไป ทางร้านจึงขอให้น้องแนนลองถอดคอนแทคเลนส์เพื่อตรวจกระจกตาโดยการย้อมสี Fluorescein ผลการตรวจ เห็นตาขวามีร่องรอยผิวกระจกตาถลอกเป็นวงกว้างโดยเฉพาะบริเวณขอบกระจกตาด้านบน ส่วนตาซ้ายมีรอยถลอกเหมือนกันแต่น้อยกว่า จึงแนะนำให้น้องแนนหยุดใช้คอนแทคเลนส์ชั่วคราว ให้กลับมาที่ร้าน 1 สัปดาห์หลังจากนี้ เพื่อรับการตรวจความโค้งกระจกตาและประกอบคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมให้ เด็กในปัจจุบัน มีแนวโน้มใส่คอนแทคเลนส์มากขึ้นกว่าเด็กยุคก่อน เนื่องจากแฟชั่นคอนแทคเลนส์สีและคอนแทคเลนส์ตาโตเป็นที่นิยม แนะนำผู้ปกครองดังนี้ ถ้าเด็กอยากใส่คอนแทคเลนส์ ไม่ควรห้าม แต่ควรถามถึงเหตุผลที่อยากใส่ ถ้าเห็นว่าเด็กอยากใส่จริงๆ ควรพาไปตรวจวัดสายตาและประกอบคอนแทคเลนส์ให้ถูกต้องกับนักทัศนมาตรหรือจักษุแพทย์ เพื่อให้ได้คอนแทคเลนส์ที่เหมาะกับดวงตาเด็ก รวมทั้งได้เรียนรู้การใช้งาน ใส่ ถอด ทำความสะอาด และการดูแลรักษา จากผู้เชี่ยวชาญ ถ้าเด็กอยากใส่คอนแทคเลนส์จริงๆแต่ผู้ปกครองห้าม เด็กอาจไปแอบซื้อและทดลองใส่เองอย่างผิดๆถูกๆ หรืออาจขอยืมของเพื่อนเพื่อทดลองใส่ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่น ได้คอนแทคเลนส์ไม่เหมาะกับดวงตา วิธีการใส่ถอดไม่ถูกต้องทำให้เกิดแผลถลอกที่ดวงตาและตาอักเสบติดเชื้อตามมา ขอยืมเพื่อนใส่ทำให้เสี่ยงต่อโรคติดต่อต่างๆ…

Read More »

ตาขี้เกียจ น้องวินนี่ สายตาสองข้างสั้นไม่เท่ากัน[AT023]

ตาขี้เกียจ น้องวินนี่ สายตาสองข้างสั้นไม่เท่ากัน น้องวินนี่(นามสมมุติ) อายุ 5 ปี มาที่ร้านหมอแว่นกับคุณแม่จากการแนะนำของจักษุแพทย์ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง คุณแม่บอกว่าน้องวินนี่เป็นเด็กร่าเริง เรียนหนังสือได้ดี ดูแล้วปกติทุกอย่าง แต่เมื่อสัปดาห์ก่อนได้เล่นกับลูกและมีการปิดตาข้างหนึ่งคล้ายโจรสลัด เมื่อนำผ้าปิดตาโจรสลัดมาปิดตาขวาของน้องวินนี่แล้ว น้องบอกว่ามองไม่เห็นจึงตกใจ รีบพาลูกไปพบจักษุแพทย์ จักษุแพทย์ตรวจตาดูแล้วพบว่าค่าสายตาสองข้างไม่เท่ากันจึงแนะนำให้มาตัดแว่น จากการตรวจสายตา พบว่าน้องวินนี่มีค่าสายตาสองข้างต่างกันมากและตาซ้ายเป็นตาขี้เกียจ โดยตาขวา -0.50 D (สั้นห้าสิบ) VA@3m.= 20/25-1 ตาซ้าย – 6.50 D. (สั้นหกร้อยห้าสิบ) VA@1m.= 20/100 เมื่อให้น้องลองใส่แว่นตาดู ปรากฏว่าน้องสามารถปรับตัวเข้ากับแว่นได้อย่างไม่มีปัญหา แต่จากการปรึกษากับคุณแม่แล้ว ทราบว่าน้องวินนี่เป็นเด็กที่ค่อนข้างขี้อาย เกรงว่าถ้าใส่แว่นหนาแล้วจะถูกเพื่อนๆล้อทำให้ไม่อยากใส่แว่นหรือไม่อยากไปโรงเรียนได้ ทางร้านจึงแนะนำทางเลือกอีกทางหนึ่งคือการใส่คอนแทคเลนส์ที่มีค่าอ๊อกซิเจนสูงสำหรับตาซ้าย แต่เนื่องจากน้องวินนี่อายุยังน้อย ไม่สามารถใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์ด้วยตนเองได้ ดังนั้นถ้าจะใส่ คุณแม่ต้องเป็นคนใส่ ถอด และทำความสะอาดให้ ซึ่งหลังจากทางร้านอธิบายถึงข้อควรปฏิบัติของคุณแม่ในการใส่คอนแทคเลนส์ให้น้องแล้ว ทางคุณแม่ได้คุยกับน้องวินนี่และตกลงว่าจะลองใส่คอนแทคเลนส์โดยให้คุณแม่เป็นผู้จัดการให้ หลังจากที่น้องวินนี่ลองใส่คอนแทคเลนส์แล้ว ได้แสดงอาการดีใจอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากไม่ต้องใส่แว่นหนา เมื่อเห็นว่าทั้งทางคุณแม่และน้องวินนี่มีความอยากใส่คอนแทคเลนส์มาก ทางร้านจึงทำการสอนคุณแม่ให้ใส่และถอดคอนแทคเลนส์ให้น้องวินนี่ และย้ำถึงข้อปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับการใส่คอนแทคเลนส์ให้คุณแม่และน้องวินนี่ เมื่อคุณแม่และน้องวินนี่ฝึกฝนการใส่การถอดได้อย่างดีแล้ว จึงให้ทั้งคู่กลับบ้านไป และนัดมาตรวจซ้ำหลังจากใส่คอนแทคเลนส์ไปได้แล้ว 1วัน 1สัปดาห์ 2 สัปดาห์ 1 เดือน…

Read More »