ทดสอบตาเหล่ตาเขเบื้องต้นด้วยตนเอง[AT054]

ทดสอบตาเหล่ตาเขด้วยตนเอง

ทดสอบตาเขระยะไกล

1.หาเป้ามอง อาจเลือกจุดเล็กๆที่ระดับสายตาห่างจากตัวประมาณ 6 เมตร ขนาดขนาดของจุดประมาณเท่าเหรียญบาทหรือใหญ่กว่าเล็กน้อย ลักษณะจุดที่มองควรตัดกับสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน ใช้จุดดังกล่าวเป็นเป้ามองในการทดสอบ

2.ลืมตาทั้งสองข้างและมองไปที่เป้า (ถ้ามีแว่นสายตามองไกลให้ใส่แว่นตาด้วย) ผู้ทดสอบต้องมองเห็นเป้าได้ชัดเจนจึงทำการทดสอบต่อได้ ถ้ามองเห็นเป้าที่ใช้มองแยกออกเป็นสองภาพ(ซึ่งจริงๆแล้วมีเป้าอันเดียว) แสดงว่าคุณตาเหล่ ถ้ามองเห็นเป้าเป็นภาพเดียว ให้ทำการทดสอบข้อต่อไป

3.ใช้มือขวาบังตาขวาโดยไม่ให้มือแตะถูกหนังตา เลื่อนมือไปมาเพื่อปิดและเปิดตาขวาโดยใช้เวลาสำหรบการปิดหรือเปิดตาแต่ละครั้งประมาณ 3-5 วินาที (ไม่ให้มือไปบังตาซ้าย)  ระหว่างที่เลื่อนมือเพื่อปิดตาขวาให้สังเกตทันทีว่าตาซ้ายยังมองที่เป้าอยู่หรือไม่ (สังเกตเฉพาะตอนบัง ไม่ต้องสังเกตตอนที่ขยับมือออก)

 

  •     ถ้าตาซ้ายยังมองอยู่ที่เป้าตลอดเวลาขณะที่มือบังและเปิดตาขวาอยู่แสดงว่าตาซ้ายไม่เหล่
  •     ถ้าปิดตาขวาแล้วตาซ้ายไม่ได้มองที่เป้า กลับมองที่อย่างอื่นอยู่และค่อยเลื่อนมาที่มองที่เป้า แสดงว่าตาซ้ายเหล่
  •     ถ้าปิดตาขวาแล้ว ตาซ้ายมองเห็นไม่ชัด แสดงว่าตาซ้ายอาจมีสายตาหรือความผิดปกติอื่นๆทำให้มองไม่ชัด (หรืออาจตาเหล่ด้วย ถ้าปิดตาขวาแล้วตาซ้ายไม่ได้มองที่เป้า)
  •     ถ้าปิดตาขวาแล้ว ตาซ้ายมองไม่เห็นอะไรเลย แสดงว่าตาซ้ายอาจมัวหรือบอด
  • (เวบ YouTube แสดงการตรวจตาเหล่ตาเข ภาษาอังกฤษ)4.ทำซ้ำกับตาอีกข้าง โดยใช้มือซ้ายบังตาซ้าย และทำตามวิธีในข้อ 3
  •       ถ้าตาขวายังมองอยู่ที่เป้าตลอดเวลาขณะที่มือบังและเปิดตาซ้ายอยู่แสดงว่าตาขวาไม่เหล่
  •       ถ้าปิดตาซ้ายแล้วตาขวาไม่ได้มองที่เป้า กลับมองที่อย่างอื่นอยู่และค่อยเลื่อนมาที่มองที่เป้า แสดงว่าตาขวาเหล่
  •       ถ้าปิดตาซ้ายแล้ว ตาขวามองเห็นไม่ชัด แสดงว่าตาขวาอาจมีสายตาหรือความผิดปกติอื่นๆทำให้มองไม่ชัด
  •       ถ้าปิดตาซ้ายแล้ว ตาขวามองไม่เห็นอะไรเลย แสดงว่าตาขวาอาจบอด
  • หมายเหตุ
  • การตรวจนี้เป็นวิธีการตรวจด้วยตนเองอย่างง่ายๆ ไม่ใช่คำวินิจฉัยว่าท่านมีตาเหล่จริงๆ ถ้าท่านต้องการตรวจให้แน่ชัดว่ามีอาการตาเหล่หรือไม่ ควรไปพบจักษุแพทย์หรือนักทัศนมาตรเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด(ที่ร้านหมอแว่นมีบริการตรวจตาเหล่และตาเหล่ซ่อนเร้นให้แก่ลูกค้าทุกท่านฟรี)
  • ภาวะตาเหล่ในเด็ก อาจทำให้เด็กมีปัญหาตาขี้เกียจตามมาได้ ถ้าบุตรหลานหรือนักเรียนของท่านมีอาการตาเหล่ ควรไปพบจักษุแพทย์หรือนักทัศนมาตรเพื่อรับคำปรึกษาและแก้ไข อนึ่งตาเหล่ในเด็กบางชนิดสามารถรักษาได้โดยการใช้แว่น
  • ตาเหล่มีหลายชนิดแล้วแต่การแบ่งประเภท สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน
  • การปิดตาแต่ละข้างแล้วสังเกตเห็นว่าตาสองข้างมีการมองเห็นที่ต่างกัน ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ไม่ควรตกใจ อย่างไรก็ดีท่านควรไปรับการตรวจตาเพื่อหาสาเหตุ ตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้ตาสองข้างเห็นชัดไม่เท่ากันเช่น ปัญหาสายตา สายตาสองข้างไม่เท่ากัน ตาขี้เกียจ ต้อกระจก จอตาเสื่อม ฯลฯ