02-734-0911-2, 081-7344-552 thaidoctorvision@gmail.com [gtranslate]

จอตาเสื่อม[AT040]

จอตาเสื่อม   จอตาเสื่อม หรือจอประสาทตาเสื่อมคืออะไร…..??? จอตาเสื่อม (Age Related Macular Degeneration, AMD) คือภาวะการสูญเสียการมองเห็นของดวงตาในส่วนศูนย์กลางการมองเห็นซึ่งทำให้การมองภาพที่มีความละเอียดสูญเสียไป (ทำให้อ่านหนังสือไม่ได้ มองหน้าคนแล้วไม่รู้ว่าเป็นใคร) แต่การมองเห็นในส่วนข้างๆยังดีอยู่ทำให้สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ มักเกิดกับผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จอตาเสื่อมจัดเป็นโรคอันดับต้นๆที่ทำให้ผู้สูงอายุมีการมองเห็นที่แย่ลง   จอตาเสื่อมเกิดจากอะไร….??? เกิดจากการแยกชั้นระหว่างจอตาและตาชั้นกลางหรือคลอรอยด์ซึ่งเป็นชั้นที่ทำหน้าที่ส่งอาหารและอากาศให้แก่จอตา การแยกชั้นทำให้จอตาเสียหายหรือตายไปทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณภาพไปที่สมองได้ สาเหตุของการแยกชั้นมีหลายสาเหตุเช่นการเกิด ดรูเซน หรือการที่มีเส้นเลือดใหม่เกิดขึ้น การแยกชั้นของจอตาในโรคจอตาเสื่อมจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป แตกต่างจากจอตาหลุดลอกซึ่งจะเป็นแบบฉับพลัน   ใครบ้างที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจอตาเสื่อม……??? คนทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจอตาเสื่อม โดยเฉพาะ ผู้ที่อายุมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ก็มีความเสี่ยงสูงว่าคนอื่น ผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ผู้ที่มีระดับเม็ดสีในจอตาน้อย ผู้ที่มีดรูเซนในจอตาส่วนกลาง คนอ้วน ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้สูบบุหรี่ ผู้ที่ได้รับรังสียูวี และแสงช่วงความยาวคลื่นต่ำ(ช่วงแสงสีม่วง น้ำเงิน) ปริมาณมากต่อเนื่อง   จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองจอตาเสื่อมรึป่าว ถ้าไม่ได้ไปตรวจสายตา……..??? ผู้ที่เป็นจอตาเสื่อมระยะแรกมักจะไม่สามารถบอกได้ว่าตนเองเป็นโดยผู้ที่เริ่มมีอาการจอตาเสื่อมแล้วอาจสังเกตว่าตามัวลงอย่างช้าๆ (ซึ่งมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ตามัวลงอย่างช้าๆเช่น ต้อกระจก ต้อหิน ) หรือเห็นภาพบิดเบี้ยว สำหรับผู้ที่เป็นจอตาเสื่อมรุนแรงแล้วอาจสูญเสียสายตาส่วนกลางไปอย่างสมบูรณ์ดังรูปด้านบน การตรวจจอตาเสื่อมด้วยตนเองด้วยเครื่องมือง่ายๆคือ Amsler…

Read More »

กระจกตาโป่งพอง Keratoconus[AT041]

กระจกตาคืออะไร ทำหน้าที่อะไร…..??? กระจกตา (Cornea) คือส่วนของลูกตาที่อยู่นอกสุด เป็นเนื้อเยื่อใสอยู่ส่วนหน้าของตาดำ โดยปกติเรามองไม่เห็นกระจกตาเนื่องจากกระจกตาใสไม่มีสี ที่เราเห็นสีดวงตาเป็นสีดำหรือน้ำตาลนั่นคือสีของม่านตา (Iris) ซึ่งอยู่ด้านหลังกระจกตา กระจกตาทำหน้าที่เป็นอวัยวะหลักในการรวมแสงเข้าสู่ดวงตา ดังนั้นกระจกตาจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในดวงตาของเรา รูปแสดงกระจกตา (Cornea) และม่านตา (Iris) กระจกตาโป่งพองคืออะไร เกิดจากอะไร…..??? กระจกตาโป่งพอง คือการที่กระจกตาบางส่วนมีการนูนตัวขึ้นมาทำให้กระจกตาบิดเบี้ยวผิดปกติ สาเหตุเนื่องจากบางส่วนของกระจกตา เกิดการบางตัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ความดันภายในลูกตา ดันกระจกส่วนที่บางตัวลงให้นูนออกมา ถ้ากระจกตาส่วนที่นูนออกมามีลักษณะเป็นยอดแหลมจะเรียกว่า Keratoconus (Kerato= กระจกตา Cone=รูปกรวย) ถ้ากระจกตานูนออกมามีลักษณะเป็นรูปทรงกลม จะเรียกว่า Keratoglobus หรือถ้านูนออกมาเฉพาะบริเวณริมกระจกตา จะเรียกว่า Pellucid Marginal Degeneration เป็นต้น สาเหตุการเกิดกระจกตาโป่งพองยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยคาดว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม การอักเสบของตา การขยี้ตาบ่อย หรือบางครั้งเกิดหลังจากการทำเลสิกหรือ PRK ด้วย รูปซ้ายบน ภาพแสดงกระจกตาปกติ รูปขวาบน ภาพแสดงตาที่เป็นกระจกตาโป่งพอง(Keratoconus) สังเกตเห็นการนูนตัวขึ้นของกระจกตา(กรณีเป็นไม่มากจะสังเกตไม่เห็นว่ากระจกตานูนออกมา) รูปซ้ายบน กระจกตาโป่งพองดูจากด้านข้าง อาจสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก…

Read More »

เบาหวานขึ้นตา จอตาบวม CSME[AT042]

เบาหวานขึ้นตา จอตาบวม CSME คุณประสิทธิ์(นามสมมุติ) อายุ 56 ปี ลูกค้าประจำของร้านหมอแว่น มาที่ร้านด้วยอาการตามัว ต้องการมาทำแว่นใหม่เพราะเลนส์ที่ตัดไปใช้มาได้หลายปีแล้ว เมื่อวัดสายตาดู พบว่า VA ดีที่สุดของคุณประสิทธิ์คือ ตาขวา 20/20-1  ตาซ้าย 20/30-2 และไม่ดีขึ้นด้วย Pinhole ทางร้านจึงทำการถ่ายภาพจอประสาทตา จากรูปที่ถ่ายได้พบว่า จอตาด้านซ้ายบริเวณศูนย์กลางการมองเห็นและใกล้เคียง (Macula) มีอาการบวมตัว จัดเป็น CSME(Clinically Significant Macular Edema จอตาบริเวณศูนย์กลางการมองเห็นบวม ซึ่งควรรับการรักษาทันที) เมื่อดูประวัติเพิ่มเติม ได้ความว่า คุณประสิทธิ์ ป่วยเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่อายุ 48 ปี และเมื่อซักประวัติเพิ่มเติม พบว่าการคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ค่อยดีเท่าไร จึงแนะนำให้คุณประสิทธิ์ไปพบจักษุแพทย์โดยด่วน โดยยังไม่ต้องตัดแว่นเนื่องจากแว่นอันเดิมยังพอใช้งานได้อยู่      รูปถ่ายจอตา แสดงจอตาบวม (บริเวณที่เห็นเป็นจุดสว่างสีเหลืองเล็กๆ กระจายตัวเป็นกระจุก) การตรวจพบเบาหวานขึ้นตาระยะนี้ร่วมกับการรักษาอย่างถูกต้อง สามารถป้องกันตาบอดจากเบาหวานขึ้นตาได้ อนึ่ง โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะมีโรคอื่นๆที่ตามมา เช่น…

Read More »

เบาหวานขึ้นตา ไม่ยอมให้จักษุแพทย์ยิงเลเซอร์[AT043]

เบาหวานขึ้นตา ไม่ยอมให้จักษุแพทย์ยิงเลเซอร์ คุณเอื้อมพร คนไข้หญิงอายุ 67 ปี มีปัญหาตามัว มาที่คลินิกสุขภาพสายตา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นครั้งแรกเนื่องจากลูกสาวพามา โดย  คุณเอื้อมพรเป็นเบาหวานมากว่า 10 ปีและผ่าต้อกระจกมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว หลังจากการวัดสายตา พบว่ามีค่าสายตาเล็กน้อย และแว่นตาอันเดิมยังใช้งานได้ดีอยู่ แต่ตาแต่ละด้านของคนไข้เห็นได้ดีเพียง VA  20/40 และ 20/30-2  โดยการเห็นไม่ดีขึ้นหลังจากการใช้  Pin Hole จึงขอตรวจด้วย Slit lamp และเครื่องถ่ายภาพจอตาแต่คนไข้ไม่ให้ความร่วมมือ โดยบอกว่ากลัวสายตาจะเสีย ภาพเปรียบเทียบจอตาปกติ(รูปซ้าย)และจอตาของผู้ที่เป็นเบาหวาขึ้นตา(DiabeticRetinopathy) ร้านหมอแว่นมีเครื่องถ่ายภาพจอตาบริการสำหรับลูกค้า เมื่อตรวจพบเบาหวานขึ้นตาจะสามารถส่งต่อเพื่อไปรักษาได้อย่างทันท่วงที(เบาหวานขึ้นตาระยะแรกอาจไม่มีอาการหรือความเปลี่ยนแปลงทางสายตา แต่เห็นได้จากภาพถ่ายจอตา) จากการสอบถามเพิ่มเติม ได้ความว่า คนไข้ มีอาการเบาหวานขึ้นตา(Diabetic retinopathy) และได้รับการรักษาจากจักษุแพทย์หลายครั้งโดยการยิงเลเซอร์ แต่หลังจากการยิงเลเซอร์ทุกครั้งคนไข้กลับรู้สึกว่าตามัวมากขึ้น จนครั้งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คุณเอื้อมพรไปพบจักษุแพทย์ ได้รับการวินิจฉัยว่าควรยิงเลเซอร์อีก แต่คนไข้ปฏิเสธการรักษาเนื่องจากไม่ต้องการให้การเห็นแย่ลงไปอีก หลังจากผู้ตรวจอธิบายว่าการตรวจโดยเครื่องมือ Slit lamp และ เครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา เป็นแสงเหมือนกับแสงโดยทั่วไป ไม่มีอันตรายกับดวงตา และจะไม่ทำให้การมองเห็นแย่ลง…

Read More »

ตาเอียงจากกระจกตาโป่งพอง[AT044]

ตาเอียงจากกระจกตาโป่งพอง คุณแม่พา ด.ญ. นพรัตน์ (นามสมมุติ) อายุ 13 ปี มาตรวจสายตาเนื่องจากแว่นอันเดิมมองเห็นไม่ชัด ผลการตรวจสายตาพบว่าตาข้างขวาและข้างซ้ายสั้นลงเล็กน้อย แต่ตาข้างซ้ายมีสายตาเอียงเพิ่มขึ้นมากกว่าการวัดครั้งก่อนถึง 5.00 D. ซึ่งปกติค่าสายตาเอียงไม่น่าจะเปลี่ยนมากขนาดนี้ ทางร้านจึงตรวจด้วยเครื่องถ่ายแผนที่กระจกตา (Corneal Topographer) เพิ่มเติม รูปภาพถ่ายแผนที่กระจกตา ผู้ที่เป็นกระจกตาโป่งพอง เทียบกับคนปกติ             ผลการตรวจพบว่า กระจกตาด้านซ้ายบริเวณกลางค่อนไปทางล่างและหัวตา มีการนูนตัวขึ้นมา ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากโรคกระจกตาโป่งพอง เมื่อให้น้องทดลองใส่แว่นตาที่วัดค่าได้ ปรากฏว่าการมองเห็นของตาซ้ายยังไม่ดีนัก จึงทดลองให้น้องใส่เลนส์ชนิดกึ่งนิ่มกึ่งแข็งชนิดธรรมดา (RGP ขนาดเล็กกว่าตาดำ) พบว่าน้องมองเห็นได้ชัดเจนดีขึ้น แต่รู้สึกเคืองตามาก จึงลองเปลี่ยนมาเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดกึ่งนิ่มกึ่งแข็งชนิด Reverse Geometry เปรียบเทียบกับคอนแทคเลนส์กึ่งนิ่มกึ่งแข็งที่ขนาดใหญ่กว่าตาดำ (Scleral Lens) ปรากฏว่าน้องมองเห็นได้ชัดเจนดีและรู้สึกสบายตาดีมาก จึงทำการสั่งตัดคอนแทคเลนส์ชนิดหลังให้น้องใส่ ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคกระจกตาโป่งพองที่แน่ชัดและยังไม่มีการรักษาใดๆที่ได้ผล ดังนั้นสิ่งที่ทำได้คือ การแก้ไขค่าสายตาด้วยแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ชนิดต่างๆทั้งชนิดธรรมดาและชนิดพิเศษเฉพาะสำหรับผู้เป็นกระจกตาโป่งพอง การแก้ไขที่เหมาะสมขึ้นกับความรุนแรงของโรค โดยยิ่งกระจกตาโป่งพองมาก การแก้ไขด้วยแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ธรรมดาอาจทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนเท่าที่ควร การใส่คอนแทคเลนส์กึ่งนิ่มกึ่งแข็งทั่วๆไปอาจทำให้การมองเห็นชัดเจนขึ้นแต่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเคืองตาเป็นอย่างมาก หมอแว่นมีคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษหลายรุ่นสำหรับกระจกตาโป่งพองขั้นรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยมีการมองเห็นที่ชัดเจน และใส่คอนแทคเลนส์ได้อย่างสบายตา คอนแทคเลนส์สำหรับกระจกตาโป่งพองรุ่นใหม่จะมีการออกแบบให้คอนแทคเลนส์ไม่ถูโดนกระจกตาส่วนที่โป่งพองออกมา เพื่อลดโอกาสเกิดรอยถลอกหรือรอยแผลเป็นของกระจกตาจากการที่ถูกคอนแทคเลนส์ถูเป็นระยะเวลานานด้วย อ่านเพิ่มเติม “กระจกตาโป่งพอง”…

Read More »

ไมเกรนและอาการทางตา[AT045]

ไมเกรนและอาการทางตา คุณนงลักษณ์ (นามสมมุติ) อายุ 25 ปี  มาหาหมอแว่นด้วยอาการตื่นตระหนก โดยเล่าให้ฟังว่า เห็นภาพแปลกๆ โดยตอนแรกเห็นภาพไหวๆ และต่อมาภาพตรงจุดที่มองหายไปลักษณะเหมือนอุโมงค์สีเทาดำ ขณะที่เล่านี้อาการดังกล่าวได้หายไปแล้ว ซึ่งอาการดังกล่าวเพิ่งเกิดเมื่อ 5 นาทีที่ผ่านมานี่เอง อาการนำไมเกรน (Prodrome) มีได้หลายอย่างที่พบบ่อยคือการเห็นภาพแปลกๆเช่นภาพบางส่วนหายไป ภาพหมุนเป็นเกลียว ภาพซิกแซก ฯลฯ จากการซักถาม คุณนงลักษณ์ไม่เคยมีอาการเช่นนี้มาก่อน และขณะเป็นอาการดังกล่าวก็ไม่มีอาการเจ็บตาหรืออาการทางตาอื่นๆ ทางร้านลองถ่ายภาพจอประสาทตาดูก็ไม่พบสิ่งผิดปกติ จากข้อมูลดังกล่าว สันนิษฐานว่าการเห็นภาพผิดปกติอย่างนี้น่าจะเป็น Aura Phase ของโรคไมเกรน โดยไม่ใช่ปัญหาทางสายตาหรือสุขภาพตา จึงแนะนำให้กลับไปพักผ่อนที่บ้านและสังเกตอาการ ถ้ามีอาการปวดหัวมากข้างเดียวหรือสองข้างตามมาให้คิดถึงไมเกรนเป็นอันดับแรก โดยก่อนกลับบ้าน ทางร้านได้ให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเมื่อเป็นไมเกรนด้วย  คุณนงลักษณ์ขอบคุณหมอแว่นที่ช่วยให้คำแนะนำและทำให้สบายใจขึ้นที่ไม่ได้เป็นอะไรรุนแรงเกี่ยวกับดวงตา สำหรับโรคไมเกรน อาการนำออร่า คืออาการเตือนก่อนที่จะเป็นไมเกรน ซึ่งอาการนำมีหลายลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล แต่อาจจำแนกอาการนำได้เป็น ลักษณะทางการเห็น ทางกลิ่น ทางการได้ยิน ทางการสัมผัส ก็ได้ โดยทางการมองเห็น สิ่งที่เห็นอาจแตกต่างกันไปเช่น เห็นภาพบิดเบี้ยว ภาพหายไปบางส่วน ภาพเหมือนมีเงาสีเทาบัง เห็นเป็นเหมือนอุโมงหรือก้นหอยหมุนลงไป เห็นภาพซิกแซก เห็นเหมือนแสงแฟลช เห็นสีประหลาดหลายสี…

Read More »

ตามัว ไม่ควรมองข้าม[AT046]

ตามัว ไม่ควรมองข้าม อาการตามัว อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆได้มากมาย ซึ่งบางสาเหตุ ไม่มีอันตราย แต่บางสาเหตุ มีอันตรายจนอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นถ้าท่านมีอาการตามัว ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเพื่อหาสาเหตุของตามัว เพราะถ้าตามัวเกิดจากสาเหตุที่เป็นอันตราย ก็จะได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ตัวอย่างสาเหตุของอาการตามัวเช่น สาเหตุของอาการตามัวที่ไม่เป็นอันตราย เพียงแต่รบกวนการมองเห็น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง ต้อกระจก ตาแห้ง (ถ้าปล่อยไว้นานอาจเกิดต้อลม ต้อเนื้อตามมาได้) กระจกตาบวม จากการเพิ่งตื่นนอน องค์ประกอบของน้ำตาไม่สมดุล ผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขยายม่านตา ยาคุมความดันลูกตาบางชนิด (สำหรับโรคต้อหิน) ฯลฯ สาเหตุของอาการตามัวที่เป็นอันตราย ควรได้รับการแก้ไขหรือรักษาโดยเร็ว Macula Degeneration จอประสาทตาเสื่อม Macula edema จอประสาทตาบวม Retinal Detachment จอตาหลุดลอก Uveitis ตาชั้นกลางอักเสบ Iritis ม่านตาอักเสบ Retinitis จอตาอักเสบ Conjunctivitis เยื่อบุตาขาวอักเสบ Keratitis / Corneal Edema…

Read More »

ตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์ สาเหตุและการแก้ไข[AT048]

ตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์ สาเหตุและการแก้ไข คุณเบญจมาศ (นามสมมุติ) สาวออฟฟิศอายุ 29 ปี ลูกค้าประจำที่ร้าน มาวัดสายตาและตัดแว่นใหม่เนื่องจากรู้สึกว่าใส่แว่นอันเดิมแล้วเริ่มมองได้ไม่ชัด หลังจากวัดสายตา ปรากฏว่าสายตาสั้นลงเล็กน้อย ทางร้านจึงทำการเปลี่ยนเลนส์แว่นตาและจ่ายเบอร์คอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมให้ โดยปกติคุณเบญจมาศจะใส่คอนแทคเลนส์ในวันทำงาน โดยใส่ตั้งแต่เช้าและถอดทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน หลังจากนั้นจะใส่แว่นตาต่อจนถึงเข้านอนเพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนและกระจกตาได้รับอ๊อกซิเจนมากขึ้น ตามคำแนะนำของร้าน จากการสอบถามเพิ่มเติม คุณเบญจมาศบอกว่าระยะหลังๆนี้รู้สึกตาแห้งๆ โดยรู้สึกตาแห้งมากในช่วงเช้า ช่วงกลางวันดีขึ้นและแห้งอีกทีในช่วงบ่าย บางบ่ายแห้งจนรู้สึกว่าอยากถอดคอนแทคเลนส์ออก ทางร้านหมอแว่นจึงทำการตรวจสุขภาพตาและการใส่คอนแทคเลนส์ด้วยเครื่อง Slit lamp     รูป คราบสกปรกบนคอนแทคเลนส์ สังเกตได้ยากด้วยตาเปล่า แต่สามารถเห็นได้ง่าย โดยการตรวจด้วยเครื่อง Slit lamp    จากการตรวจขณะใส่คอนแทคเลนส์ พบว่า Base curve ของคอนแทคเลนส์กำลังดี ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป เมื่อสังเกตที่ผิวคอนแทคเลนส์พบว่ามีคราบสกปรกติดอยู่บ้างพอสมควร เมื่อดูที่หนังตาสังเกตเห็นการอุดตันและอักเสบเล็กน้อยของต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian gland) ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุของอาการตาแห้งในช่วงเช้า และจากการสอบถามเพิ่มเติม อาการตาแห้งในช่วงบ่ายมักไม่เกิดเมื่อคุณเบญจมาศใส่คอนแทคเลนส์คู่ใหม่ และจะเริ่มมีอาการเมื่อใส่คอนแทคเลนส์คู่นั้นไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว จากที่กล่าวมา สาเหตุของอาการตาแห้งในช่วงบ่ายน่าจะเกิดจากสองสาเหตุ คือ จากตัวคอนแทคเลนส์ ที่เกิดสิ่งสกปรกสะสมหลังจากใช้ไปได้แล้วสักระยะ ร่วมกับวัสดุคอนแทคเลนส์ที่มีค่าการอุ้มน้ำเยอะ (High Water…

Read More »

เคืองตา ตาแดง มัวเป็นพักๆ[AT049]

เคืองตา ตาแดง มัวเป็นพักๆ คุณวรรณา (นามสมมุติ) อายุ 26 ปี พนักงานบริษัท มาซื้อคอนแทคเลนส์ที่ร้าน ปรึกษาว่ามักระคายเคืองตาและตาแดงเมื่อใส่คอนแทคเลนส์ บางครั้งรู้สึกตามัวเมื่อกระพริบตา ทางร้านเลยทำการตรวจการใส่คอนแทคเลนส์ให้ จากการตรวจโดย Slit Lamp ขณะที่ใส่คอนแทคเลนส์อยู่ เมื่อกระพริบตาแล้ว สังเกตเห็นคอนแทคเลนส์ขยับมากเกินไปซึ่งเป็นลักษณะของการใส่คอนแทคเลนส์หลวมหรือ Base Curve (BC) ใหญ่เกินไป ทางร้านจึงแนะนำให้เปลี่ยนฺ BC ของคอนแทคเลนส์จากเดิมใส่ Acuvue2 BC 8.7 มาเป็น Acuvue2 BC 8.3 หลังจากการเปลี่ยน สังเกตได้อย่างชัดเจนว่าคอนแทคเลนส์เคลื่อนที่น้อยลงเมื่อกระพริบตา และอาการตามัวเมื่อกระพริบตาหายไป (อาการนี้เกิดจากการที่คอนแทคเลนส์เคลื่อนที่มากเมื่อกระพริบตา ร่วมกับรูม่านตาของผู้ใส่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ทำให้แสงบางส่วนผ่านคอนแทคเลนส์ส่วนที่ไม่ใช่ Optical Zone เข้ารูม่านตา ทำให้เห็นไม่ชัด แต่เมื่อลืมตาสักพัก ภาพที่มัวจะหายไปเองได้ เมื่อคอนแทคเลนส์เคลื่อนกลับมาอยู่กลางกระจกตา)   ไม่มีคอนแทคเลนส์ชิ้นใดที่มีขนาด Free size ที่ใส่ได้พอดีกับดวงตาของทุกคน ดังนั้นผู้ใส่คอนแทคเลนส์ควรได้รับการตรวจและเลือกคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมกับดวงตา โดยนักทัศนมาตรหรือจักษุแพทย์ อนึ่ง…

Read More »

ตามัวไม่ควรนิ่งนอนใจ Optic Nerve Swelling[AT047]

ตามัวไม่ควรนิ่งนอนใจ Optic Nerve Swelling คุณราชโรจน์ (นามสมมุติ) อายุ 36 ปี พนักงานออฟฟิศ เข้ามาตรวจสายตาเนื่องจากรู้สึกว่าตัวเองตามัวได้ประมาณ 3 วัน ทางร้านจึงทำการวัดสายตาให้ตามปกติ เมื่อตรวจสายตาแล้วพบว่าสายตาเปลี่ยนเล็กน้อย แต่จากประวัติของคุณราชโรจน์ พบว่าค่าการมองเห็นหลังจากแก้ไขสายตาแล้ว (BVA) เมื่อปีที่แล้วยังได้ 20/20 ทั้งสองตา  แต่ในครั้งนี้ BVA ของตาขวาเป็นปกติแต่ตาซ้ายค่อนข้างต่ำคือ 20/30-2 และไม่ดีขึ้นด้วย Pinhole ทางร้านจึงทำการตรวจสุขภาพตาด้วยเครื่องมืออื่นๆเพิ่มเติม ผลการตรวจโดย Slitlamp ได้ผลเป็นปกติทั้งสองตา โดยไม่มีต้อลม ต้อเนื้อ ชั้นน้ำตาดูปกติ กระจกตาใส และไม่มีการอักเสบของลูกตาส่วนหน้าหรือ ม่านตา เลนส์ตาปกติ  จาก เครื่องวัดความดันตาแบบยิงลม ได้ค่าความดันลูกตาอยู่ในช่วงปกติ คือ 14.2  / 14.7  จึงไม่น่าจะเกี่ยวกับต้อหิน จาก เครื่องถ่ายจอตา จอตาบริเวณ Macula และโดยรวมดูปกติ แต่สังเกตเห็นบริเวณจอตาส่วนของขั้วประสาทตา (Optic Nerve Head) ของตาซ้ายมีลักษณะนูนตัวขึ้นเล็กน้อยและขอบไม่คม สีซีดเล็กน้อย…

Read More »