02-734-0911-2, 081-7344-552 thaidoctorvision@gmail.com [gtranslate]

ตาเอียงจากกระจกตาโป่งพอง[AT044]

ตาเอียงจากกระจกตาโป่งพอง คุณแม่พา ด.ญ. นพรัตน์ (นามสมมุติ) อายุ 13 ปี มาตรวจสายตาเนื่องจากแว่นอันเดิมมองเห็นไม่ชัด ผลการตรวจสายตาพบว่าตาข้างขวาและข้างซ้ายสั้นลงเล็กน้อย แต่ตาข้างซ้ายมีสายตาเอียงเพิ่มขึ้นมากกว่าการวัดครั้งก่อนถึง 5.00 D. ซึ่งปกติค่าสายตาเอียงไม่น่าจะเปลี่ยนมากขนาดนี้ ทางร้านจึงตรวจด้วยเครื่องถ่ายแผนที่กระจกตา (Corneal Topographer) เพิ่มเติม รูปภาพถ่ายแผนที่กระจกตา ผู้ที่เป็นกระจกตาโป่งพอง เทียบกับคนปกติ             ผลการตรวจพบว่า กระจกตาด้านซ้ายบริเวณกลางค่อนไปทางล่างและหัวตา มีการนูนตัวขึ้นมา ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากโรคกระจกตาโป่งพอง เมื่อให้น้องทดลองใส่แว่นตาที่วัดค่าได้ ปรากฏว่าการมองเห็นของตาซ้ายยังไม่ดีนัก จึงทดลองให้น้องใส่เลนส์ชนิดกึ่งนิ่มกึ่งแข็งชนิดธรรมดา (RGP ขนาดเล็กกว่าตาดำ) พบว่าน้องมองเห็นได้ชัดเจนดีขึ้น แต่รู้สึกเคืองตามาก จึงลองเปลี่ยนมาเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดกึ่งนิ่มกึ่งแข็งชนิด Reverse Geometry เปรียบเทียบกับคอนแทคเลนส์กึ่งนิ่มกึ่งแข็งที่ขนาดใหญ่กว่าตาดำ (Scleral Lens) ปรากฏว่าน้องมองเห็นได้ชัดเจนดีและรู้สึกสบายตาดีมาก จึงทำการสั่งตัดคอนแทคเลนส์ชนิดหลังให้น้องใส่ ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคกระจกตาโป่งพองที่แน่ชัดและยังไม่มีการรักษาใดๆที่ได้ผล ดังนั้นสิ่งที่ทำได้คือ การแก้ไขค่าสายตาด้วยแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ชนิดต่างๆทั้งชนิดธรรมดาและชนิดพิเศษเฉพาะสำหรับผู้เป็นกระจกตาโป่งพอง การแก้ไขที่เหมาะสมขึ้นกับความรุนแรงของโรค โดยยิ่งกระจกตาโป่งพองมาก การแก้ไขด้วยแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ธรรมดาอาจทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนเท่าที่ควร การใส่คอนแทคเลนส์กึ่งนิ่มกึ่งแข็งทั่วๆไปอาจทำให้การมองเห็นชัดเจนขึ้นแต่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเคืองตาเป็นอย่างมาก หมอแว่นมีคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษหลายรุ่นสำหรับกระจกตาโป่งพองขั้นรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยมีการมองเห็นที่ชัดเจน และใส่คอนแทคเลนส์ได้อย่างสบายตา คอนแทคเลนส์สำหรับกระจกตาโป่งพองรุ่นใหม่จะมีการออกแบบให้คอนแทคเลนส์ไม่ถูโดนกระจกตาส่วนที่โป่งพองออกมา เพื่อลดโอกาสเกิดรอยถลอกหรือรอยแผลเป็นของกระจกตาจากการที่ถูกคอนแทคเลนส์ถูเป็นระยะเวลานานด้วย อ่านเพิ่มเติม “กระจกตาโป่งพอง”…

Read More »

ไมเกรนและอาการทางตา[AT045]

ไมเกรนและอาการทางตา คุณนงลักษณ์ (นามสมมุติ) อายุ 25 ปี  มาหาหมอแว่นด้วยอาการตื่นตระหนก โดยเล่าให้ฟังว่า เห็นภาพแปลกๆ โดยตอนแรกเห็นภาพไหวๆ และต่อมาภาพตรงจุดที่มองหายไปลักษณะเหมือนอุโมงค์สีเทาดำ ขณะที่เล่านี้อาการดังกล่าวได้หายไปแล้ว ซึ่งอาการดังกล่าวเพิ่งเกิดเมื่อ 5 นาทีที่ผ่านมานี่เอง อาการนำไมเกรน (Prodrome) มีได้หลายอย่างที่พบบ่อยคือการเห็นภาพแปลกๆเช่นภาพบางส่วนหายไป ภาพหมุนเป็นเกลียว ภาพซิกแซก ฯลฯ จากการซักถาม คุณนงลักษณ์ไม่เคยมีอาการเช่นนี้มาก่อน และขณะเป็นอาการดังกล่าวก็ไม่มีอาการเจ็บตาหรืออาการทางตาอื่นๆ ทางร้านลองถ่ายภาพจอประสาทตาดูก็ไม่พบสิ่งผิดปกติ จากข้อมูลดังกล่าว สันนิษฐานว่าการเห็นภาพผิดปกติอย่างนี้น่าจะเป็น Aura Phase ของโรคไมเกรน โดยไม่ใช่ปัญหาทางสายตาหรือสุขภาพตา จึงแนะนำให้กลับไปพักผ่อนที่บ้านและสังเกตอาการ ถ้ามีอาการปวดหัวมากข้างเดียวหรือสองข้างตามมาให้คิดถึงไมเกรนเป็นอันดับแรก โดยก่อนกลับบ้าน ทางร้านได้ให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเมื่อเป็นไมเกรนด้วย  คุณนงลักษณ์ขอบคุณหมอแว่นที่ช่วยให้คำแนะนำและทำให้สบายใจขึ้นที่ไม่ได้เป็นอะไรรุนแรงเกี่ยวกับดวงตา สำหรับโรคไมเกรน อาการนำออร่า คืออาการเตือนก่อนที่จะเป็นไมเกรน ซึ่งอาการนำมีหลายลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล แต่อาจจำแนกอาการนำได้เป็น ลักษณะทางการเห็น ทางกลิ่น ทางการได้ยิน ทางการสัมผัส ก็ได้ โดยทางการมองเห็น สิ่งที่เห็นอาจแตกต่างกันไปเช่น เห็นภาพบิดเบี้ยว ภาพหายไปบางส่วน ภาพเหมือนมีเงาสีเทาบัง เห็นเป็นเหมือนอุโมงหรือก้นหอยหมุนลงไป เห็นภาพซิกแซก เห็นเหมือนแสงแฟลช เห็นสีประหลาดหลายสี…

Read More »

ตามัว ไม่ควรมองข้าม[AT046]

ตามัว ไม่ควรมองข้าม อาการตามัว อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆได้มากมาย ซึ่งบางสาเหตุ ไม่มีอันตราย แต่บางสาเหตุ มีอันตรายจนอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นถ้าท่านมีอาการตามัว ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเพื่อหาสาเหตุของตามัว เพราะถ้าตามัวเกิดจากสาเหตุที่เป็นอันตราย ก็จะได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ตัวอย่างสาเหตุของอาการตามัวเช่น สาเหตุของอาการตามัวที่ไม่เป็นอันตราย เพียงแต่รบกวนการมองเห็น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง ต้อกระจก ตาแห้ง (ถ้าปล่อยไว้นานอาจเกิดต้อลม ต้อเนื้อตามมาได้) กระจกตาบวม จากการเพิ่งตื่นนอน องค์ประกอบของน้ำตาไม่สมดุล ผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขยายม่านตา ยาคุมความดันลูกตาบางชนิด (สำหรับโรคต้อหิน) ฯลฯ สาเหตุของอาการตามัวที่เป็นอันตราย ควรได้รับการแก้ไขหรือรักษาโดยเร็ว Macula Degeneration จอประสาทตาเสื่อม Macula edema จอประสาทตาบวม Retinal Detachment จอตาหลุดลอก Uveitis ตาชั้นกลางอักเสบ Iritis ม่านตาอักเสบ Retinitis จอตาอักเสบ Conjunctivitis เยื่อบุตาขาวอักเสบ Keratitis / Corneal Edema…

Read More »

ตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์ สาเหตุและการแก้ไข[AT048]

ตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์ สาเหตุและการแก้ไข คุณเบญจมาศ (นามสมมุติ) สาวออฟฟิศอายุ 29 ปี ลูกค้าประจำที่ร้าน มาวัดสายตาและตัดแว่นใหม่เนื่องจากรู้สึกว่าใส่แว่นอันเดิมแล้วเริ่มมองได้ไม่ชัด หลังจากวัดสายตา ปรากฏว่าสายตาสั้นลงเล็กน้อย ทางร้านจึงทำการเปลี่ยนเลนส์แว่นตาและจ่ายเบอร์คอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมให้ โดยปกติคุณเบญจมาศจะใส่คอนแทคเลนส์ในวันทำงาน โดยใส่ตั้งแต่เช้าและถอดทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน หลังจากนั้นจะใส่แว่นตาต่อจนถึงเข้านอนเพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนและกระจกตาได้รับอ๊อกซิเจนมากขึ้น ตามคำแนะนำของร้าน จากการสอบถามเพิ่มเติม คุณเบญจมาศบอกว่าระยะหลังๆนี้รู้สึกตาแห้งๆ โดยรู้สึกตาแห้งมากในช่วงเช้า ช่วงกลางวันดีขึ้นและแห้งอีกทีในช่วงบ่าย บางบ่ายแห้งจนรู้สึกว่าอยากถอดคอนแทคเลนส์ออก ทางร้านหมอแว่นจึงทำการตรวจสุขภาพตาและการใส่คอนแทคเลนส์ด้วยเครื่อง Slit lamp     รูป คราบสกปรกบนคอนแทคเลนส์ สังเกตได้ยากด้วยตาเปล่า แต่สามารถเห็นได้ง่าย โดยการตรวจด้วยเครื่อง Slit lamp    จากการตรวจขณะใส่คอนแทคเลนส์ พบว่า Base curve ของคอนแทคเลนส์กำลังดี ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป เมื่อสังเกตที่ผิวคอนแทคเลนส์พบว่ามีคราบสกปรกติดอยู่บ้างพอสมควร เมื่อดูที่หนังตาสังเกตเห็นการอุดตันและอักเสบเล็กน้อยของต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian gland) ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุของอาการตาแห้งในช่วงเช้า และจากการสอบถามเพิ่มเติม อาการตาแห้งในช่วงบ่ายมักไม่เกิดเมื่อคุณเบญจมาศใส่คอนแทคเลนส์คู่ใหม่ และจะเริ่มมีอาการเมื่อใส่คอนแทคเลนส์คู่นั้นไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว จากที่กล่าวมา สาเหตุของอาการตาแห้งในช่วงบ่ายน่าจะเกิดจากสองสาเหตุ คือ จากตัวคอนแทคเลนส์ ที่เกิดสิ่งสกปรกสะสมหลังจากใช้ไปได้แล้วสักระยะ ร่วมกับวัสดุคอนแทคเลนส์ที่มีค่าการอุ้มน้ำเยอะ (High Water…

Read More »

เคืองตา ตาแดง มัวเป็นพักๆ[AT049]

เคืองตา ตาแดง มัวเป็นพักๆ คุณวรรณา (นามสมมุติ) อายุ 26 ปี พนักงานบริษัท มาซื้อคอนแทคเลนส์ที่ร้าน ปรึกษาว่ามักระคายเคืองตาและตาแดงเมื่อใส่คอนแทคเลนส์ บางครั้งรู้สึกตามัวเมื่อกระพริบตา ทางร้านเลยทำการตรวจการใส่คอนแทคเลนส์ให้ จากการตรวจโดย Slit Lamp ขณะที่ใส่คอนแทคเลนส์อยู่ เมื่อกระพริบตาแล้ว สังเกตเห็นคอนแทคเลนส์ขยับมากเกินไปซึ่งเป็นลักษณะของการใส่คอนแทคเลนส์หลวมหรือ Base Curve (BC) ใหญ่เกินไป ทางร้านจึงแนะนำให้เปลี่ยนฺ BC ของคอนแทคเลนส์จากเดิมใส่ Acuvue2 BC 8.7 มาเป็น Acuvue2 BC 8.3 หลังจากการเปลี่ยน สังเกตได้อย่างชัดเจนว่าคอนแทคเลนส์เคลื่อนที่น้อยลงเมื่อกระพริบตา และอาการตามัวเมื่อกระพริบตาหายไป (อาการนี้เกิดจากการที่คอนแทคเลนส์เคลื่อนที่มากเมื่อกระพริบตา ร่วมกับรูม่านตาของผู้ใส่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ทำให้แสงบางส่วนผ่านคอนแทคเลนส์ส่วนที่ไม่ใช่ Optical Zone เข้ารูม่านตา ทำให้เห็นไม่ชัด แต่เมื่อลืมตาสักพัก ภาพที่มัวจะหายไปเองได้ เมื่อคอนแทคเลนส์เคลื่อนกลับมาอยู่กลางกระจกตา)   ไม่มีคอนแทคเลนส์ชิ้นใดที่มีขนาด Free size ที่ใส่ได้พอดีกับดวงตาของทุกคน ดังนั้นผู้ใส่คอนแทคเลนส์ควรได้รับการตรวจและเลือกคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมกับดวงตา โดยนักทัศนมาตรหรือจักษุแพทย์ อนึ่ง…

Read More »

ตามัวไม่ควรนิ่งนอนใจ Optic Nerve Swelling[AT047]

ตามัวไม่ควรนิ่งนอนใจ Optic Nerve Swelling คุณราชโรจน์ (นามสมมุติ) อายุ 36 ปี พนักงานออฟฟิศ เข้ามาตรวจสายตาเนื่องจากรู้สึกว่าตัวเองตามัวได้ประมาณ 3 วัน ทางร้านจึงทำการวัดสายตาให้ตามปกติ เมื่อตรวจสายตาแล้วพบว่าสายตาเปลี่ยนเล็กน้อย แต่จากประวัติของคุณราชโรจน์ พบว่าค่าการมองเห็นหลังจากแก้ไขสายตาแล้ว (BVA) เมื่อปีที่แล้วยังได้ 20/20 ทั้งสองตา  แต่ในครั้งนี้ BVA ของตาขวาเป็นปกติแต่ตาซ้ายค่อนข้างต่ำคือ 20/30-2 และไม่ดีขึ้นด้วย Pinhole ทางร้านจึงทำการตรวจสุขภาพตาด้วยเครื่องมืออื่นๆเพิ่มเติม ผลการตรวจโดย Slitlamp ได้ผลเป็นปกติทั้งสองตา โดยไม่มีต้อลม ต้อเนื้อ ชั้นน้ำตาดูปกติ กระจกตาใส และไม่มีการอักเสบของลูกตาส่วนหน้าหรือ ม่านตา เลนส์ตาปกติ  จาก เครื่องวัดความดันตาแบบยิงลม ได้ค่าความดันลูกตาอยู่ในช่วงปกติ คือ 14.2  / 14.7  จึงไม่น่าจะเกี่ยวกับต้อหิน จาก เครื่องถ่ายจอตา จอตาบริเวณ Macula และโดยรวมดูปกติ แต่สังเกตเห็นบริเวณจอตาส่วนของขั้วประสาทตา (Optic Nerve Head) ของตาซ้ายมีลักษณะนูนตัวขึ้นเล็กน้อยและขอบไม่คม สีซีดเล็กน้อย…

Read More »

ใส่แว่นเลนส์เว้าแล้วเห็นประตูเบี้ยว[AT012]

ใส่แว่นเลนส์เว้าแล้วเห็นประตูเบี้ยว ถาม ปกติใส่คอนแทคเลนส์อยู่ค่ะ แต่พอดีช่วงนี้ตาอักเสบ คุณหมอให้งดใส่ เลยไปตัดแว่นมาใหม่ ค่าสายตาของเราอยู่ที่ด้านซ้าย -3.25 ขวา -2.75

 ตอนไปตัดแว่น พนักงานที่ร้านแนะนำว่าให้เลือกเลนส์ที่มีค่าสายตามากกว่าค่าสายตาเรา 1 step เป็นข้างซ้าย -3.50 ขวา -3.00 
ตอนลองแว่นสายตาที่ -3.50 กับ -3.00 ของทางร้านก่อนที่จะตัดแว่น ก็ไม่มีปัญหานะคะ แต่พอใส่แว่นที่ตัดเสร็จแล้วออกมา แล้วปรากฏว่ามีปัญหาพื้นลอย พอมองวัตถุที่เป็นพื้นราบแบบเส้นตรง เช่น ประตูห้าง ตู้เสื้อผ้า แล้วจะเห็นว่ามันโค้งอะค่ะ คือ ตรงกลางของวัตถุมันจะดูป่องกว้างออกมา แต่ด้านข้างมันจะเว้าแคบลงไป ทำให้เห็นวัตถุที่จริงๆแล้วควรจะราบเป็นเส้นตรง เป็นวัตถุโค้งๆหน่อยอะค่ะ ทำให้มองภาพแล้วดูไม่เป็นธรรมชาติเลย แบบนี้เราจะแก้ไขยังไงได้บ้าง หรือไปให้ทางร้านแว่นปรับแต่งค่าอะไรได้บ้างคะ ตอบ เท่าที่อ่านมา พอจะสรุปสาเหตุและการแก้ไขได้ดังนี้ครับ สาเหตุที่เห็นภาพตรงกลางป่องออก ข้างๆแคบลง (เหมือนรูปถังไม้โบราณที่เรียกว่า Barrel) เกิดเนื่องจาก Distortion (ความบิดเบือน) ของแสงที่หักเหผ่านเลนส์เว้า(สายตาสั้นใส่เลนส์เว้า ยาวใส่เลนส์นูน ซึ่งเลนส์นูนจะทำให้เห็นความบิดเบือนเป็นรูปหมอนปักเข็ม)  ซึ่งเลนส์เว้าทุกอันก่อให้เกิดปัญหานี้ ปัญหาจะมีมากขึ้นเมื่อเลนส์มีค่าสายตามากขึ้น ทำให้ผู้ใส่สังเกตุเห็นความบิดเบี้ยวนี้ได้ชัดเจน…

Read More »

ปวดตาเมื่อใช้คอมพิวเตอร์นานกว่า 1 ชั่วโมง Convergence Excess[AT011]

ปวดตาเมื่อใช้คอมพิวเตอร์นานกว่า 1 ชั่วโมง Convergence Excess คุณหฤทภัค(นามสมมุติ) อายุ 31 ปี อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มาที่ร้านหมอแว่นเนื่องจากเพื่อนอาจารย์ด้วยกันแนะนำมา  คุณหฤทภัคมีปัญหากับการใช้สายตาโดยเมื่อใช้คอมพิวเตอร์นานกว่าครึ่งชั่วโมง จะเริ่มรู้สึกมีอาการไม่สบายตา ถ้าฝืนใช้ต่ออีกสักพักจะเกิดอาการตามัวและเมื่อยตา บางครั้งถึงขั้นปวดตา ต้องพักสายตาแล้วอาการจะดีขึ้น แต่เมื่อกลับมาทำคอมพิวเตอร์ใหม่อาการก็จะมาอีก คุณหฤทภัค มีแว่นสายตาเดิม ค่าสายตา ตาขวา +1.00 -0.75×175 D. ตาซ้าย +1.25 -0.50×10 D. มีสายตาเอียงเล็กน้อยทั้งสองข้าง และมักใส่แว่นตลอดเวลาเมื่อทำคอมพิวเตอร์ เนื่องจากถ้าไม่ใส่แว่นจะมองเห็นไม่ชัดจากการมีค่าสายตาเอียงจากการตรวจสายตา ค่าสายตาเดิมยังใช้ได้อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น อาการปวดหัวที่เป็นเนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์จึงไม่ได้มาจากค่าสายตาไม่ตรง ทางร้านหมอแว่นจึงทำการตรวจระบบการมองสองตา (Binocular Vision) โดย  Von Graefe Technique ด้วย Risley Prisms ที่ระยะใกล้และไกล ทำให้ทราบว่า   คุณหฤทภัค มีค่า Horizontal Phoria @ distance =1 Prism Diopter Base…

Read More »

สายตายาวสูงอายุและการแก้ไข[AT017]

สายตายาวสูงอายุและการแก้ไข *** สายตายาวสูงอายุคือสภาวะที่การมองเห็นระยะใกล้แย่ลง แต่การมองเห็นระยะไกลยังดีอยู่ มักเกิดเมื่ออายุประมาณ 40 ปี   สายตายาวสูงอายุเกิดจากอะไร…..??? *** เกิดจากเลนส์ตา (อวัยวะในลูกตาทำหน้าที่ปรับภาพระยะใกล้ให้ชัดเจน) มีความยืดหยุ่นลดลง ทำให้การปรับโฟกัสเพื่อมองระยะใกล้ทำได้ไม่ดี ส่งผลให้การมองเห็นระยะใกล้แย่ลง   สายตายาวตอนเด็กกับสายตายาวตอนสูงอายุ เหมือนกันหรือไม่ อย่างไร……??? *** ต่างกัน โดยสายตายาวสูงอายุเกิดขึ้นเนื่องจากความยืดหยุ่นของเลนส์ตาลดลง แต่สายตายาวตอนเด็กเกิดจากกำลังสายตาของเลนส์ตาหรือกระจกตาไม่เพียงพอ ทำให้แสงจากระยะไกลโฟกัสหลังจอตา อนึ่งสายตายาวในเด็กไม่เกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่นของเลนส์ตาเนื่องจากเลนส์ตาของเด็กมีความยืดหยุ่นดีมาก   จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองสายตายาวสูงอายุรึป่าว ถ้าไม่ได้วัดสายตา…..??? *** ถ้าท่านเริ่มอายุย่างเข้าเลขสี่หรือพ้นเลขสี่ไปแล้ว ลองสังเกตการมองเห็นว่าเวลาอ่านหนังสือ การยืดแขนออกให้ห่างจากตัวมากขึ้นทำให้มองเห็นตัวหนังสือชัดเจนขึ้นหรือไม่ ถ้าตอบว่าใช่แสดงว่าท่านได้เป็นสมาชิกของสายตาสูงอายุแล้ว   สายตายาวสูงอายุ เป็นแล้วอันตรายไหม ทำให้ตาบอดได้หรือไม่……??? *** สายตาสูงอายุไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่สามารถสร้างความรำคาญและไม่สบายตากับการใช้สายตาระยะใกล้เช่นการอ่านหนังสือหรือการทำงานฝีมือ บางคนอาจรู้สึกปวดตาหรือปวดหัวได้เนื่องจากการต้องพยายามเพ่งเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน การใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์จะทำให้การมองระยะใกล้ชัดเจนขึ้นและสบายตาขึ้น   สายตายาวสูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นแล้วต้องเป็นทุกคนหรือไม่……??? *** ไม่มีใครหลีกเลี่ยงความชราพ้น ดังนั้นเราทุกคนจะมีเลนส์ตาที่มีความยืดหยุ่นลดลง เช่นเดียวกับผิวหนังที่เหี่ยวย่นขึ้นหรือผมที่หงอกและบางลง อย่างไรก็ดีแต่ละคนอาจมีปัญหาสายตาสูงอายุต่างกันไป สำหรับคนที่สายตายาวจะมีแนวโน้มมีปัญหาสายตาสูงอายุเร็วกว่าคนสายตาสั้น ในบางคนอาจไม่จำเป็นต้องใส่แว่นถ้าบังเอิญตาข้างหนึ่งสายตาใกล้เคียงปกติ (มองไกลได้ดี) และอีกข้างหนึ่งสายตาสั้นเล็กน้อย (ประมาณ -1.00…

Read More »

FAQ สายตาเอียง???[AT016]

สายตาเอียงคืออะไร…..??? *** นิยามของสายตาเอียงคือ “ภาวะผิดปกติของการหักเหแสง(Refractive Error)ในลูกตา ทำให้แสงในสองแกนหลักไม่โฟกัสที่จุดเดียวกัน” อธิบายให้เข้าใจง่ายคือภาวะที่แสงไม่โฟกัสที่จุดเดียว ทำให้เห็นภาพไม่ชัดเจนทั้งระยะใกล้และระยะไกล ส่วนใหญ่สาเหตุเกิดจากความโค้งกระจกตาไม่เท่ากัน (ถ้ากระจกตาโค้งเท่ากัน จะมีลักษณะกลมเหมือนลูกบอล แต่ถ้าโค้งไม่เท่ากัน จะมีลักษณะเหมือนลูกรักบี้) รูป 1 เปรียบเทียบ ทางเดินแสงของสายตาปกติและสายตาเอียง ทำไมคนสายตาเอียงจึงมองไม่ชัดทั้งระยะใกล้และระยะไกล…….??? *** เนื่องจากผู้ที่สายตาเอียง มีการโฟกัสของแสงในลูกตาเป็นหลายจุดแทนที่จะเป็นจุดเดียวกันไม่ว่าจะมองใกล้หรือมองไกล ดังนั้นคนสายตาเอียงจึงไม่เคยเห็นภาพที่มีความคมชัดเต็มที่(ดังรูป 1)   รูป 2เปรียบเทียบกระจกตาที่มีความโค้งเท่ากันทุกแกน(ลูกบอล) และมีความโค้งไม่เท่ากันทุกแกน(ลูกรักบี้) สายตาเอียงเกิดจากอะไร…..??? *** สายตาเอียงเกิดได้จากหลายปัจจัยเช่น กระจกตามีกำลังหักเหแสงของสองแกนหลักไม่เท่ากัน(คือกระจกตาไม่เป็นทรงกลมแต่เป็นทรงรีเหมือนลูกรักบี้) (รูป2) เลนส์ตามีกำลังหักเหแสงของสองแกนหลักไม่เท่ากัน(คือเลนส์ตามีความแบนในแต่และแนวไม่เท่ากัน) จอตาเอียงหรือบิดเบี้ยว โดยทุกปัจจัยล้วนแล้วแต่ทำให้แสงไม่โฟกัสเป็นจุดเดียวทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีสาเหตุของสายตาเอียงมักเกิดจากกระจกตาเสียเป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดสายตาเอียง แต่น่าจะเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน งานวิจัยล่าสุดยังพบว่า การเกิดสายตาเอียงอาจส่งผลให้เป็นสายตาสั้นตามมาด้วย   จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองสายตาเอียงรึป่าว ถ้าไม่ได้วัดสายตา…..??? *** อาจสังเกตได้จากปิดตาหนึ่งข้างและมองไปยังเส้นตรงในแนวรัศมีหลายๆเส้น คนสายตาไม่เอียง(สายตาสั้น ยาว หรือปกติ) จะมองเห็นเส้นทุกเส้นเข้ม(หรือจาง)เท่ากัน สำหรับคนสายตาเอียงจะมองเห็นเส้นทุกเส้นเข้มไม่เท่ากัน โดยมีบางเส้นเข้มบางเส้นอ่อน ถ้าท่านเห็นเส้นที่แนวองศาไหนเข้มที่สุด แสดงว่าสายตาท่านเอียงในแนวแกนนั้นหรือไม่ก็แนวตั้งฉากกับแกนนั้น(เช่นถ้าเห็นเส้นที่ 90 องศาเข้มที่สุด…

Read More »