02-734-0911-2, 081-7344-552 thaidoctorvision@gmail.com [gtranslate]

ปวดตาเมื่อใช้คอมพิวเตอร์นานกว่า 1 ชั่วโมง Convergence Excess[AT011]

ปวดตาเมื่อใช้คอมพิวเตอร์นานกว่า 1 ชั่วโมง Convergence Excess คุณหฤทภัค(นามสมมุติ) อายุ 31 ปี อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มาที่ร้านหมอแว่นเนื่องจากเพื่อนอาจารย์ด้วยกันแนะนำมา  คุณหฤทภัคมีปัญหากับการใช้สายตาโดยเมื่อใช้คอมพิวเตอร์นานกว่าครึ่งชั่วโมง จะเริ่มรู้สึกมีอาการไม่สบายตา ถ้าฝืนใช้ต่ออีกสักพักจะเกิดอาการตามัวและเมื่อยตา บางครั้งถึงขั้นปวดตา ต้องพักสายตาแล้วอาการจะดีขึ้น แต่เมื่อกลับมาทำคอมพิวเตอร์ใหม่อาการก็จะมาอีก คุณหฤทภัค มีแว่นสายตาเดิม ค่าสายตา ตาขวา +1.00 -0.75×175 D. ตาซ้าย +1.25 -0.50×10 D. มีสายตาเอียงเล็กน้อยทั้งสองข้าง และมักใส่แว่นตลอดเวลาเมื่อทำคอมพิวเตอร์ เนื่องจากถ้าไม่ใส่แว่นจะมองเห็นไม่ชัดจากการมีค่าสายตาเอียงจากการตรวจสายตา ค่าสายตาเดิมยังใช้ได้อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น อาการปวดหัวที่เป็นเนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์จึงไม่ได้มาจากค่าสายตาไม่ตรง ทางร้านหมอแว่นจึงทำการตรวจระบบการมองสองตา (Binocular Vision) โดย  Von Graefe Technique ด้วย Risley Prisms ที่ระยะใกล้และไกล ทำให้ทราบว่า   คุณหฤทภัค มีค่า Horizontal Phoria @ distance =1 Prism Diopter Base…

Read More »

สายตายาวสูงอายุและการแก้ไข[AT017]

สายตายาวสูงอายุและการแก้ไข *** สายตายาวสูงอายุคือสภาวะที่การมองเห็นระยะใกล้แย่ลง แต่การมองเห็นระยะไกลยังดีอยู่ มักเกิดเมื่ออายุประมาณ 40 ปี   สายตายาวสูงอายุเกิดจากอะไร…..??? *** เกิดจากเลนส์ตา (อวัยวะในลูกตาทำหน้าที่ปรับภาพระยะใกล้ให้ชัดเจน) มีความยืดหยุ่นลดลง ทำให้การปรับโฟกัสเพื่อมองระยะใกล้ทำได้ไม่ดี ส่งผลให้การมองเห็นระยะใกล้แย่ลง   สายตายาวตอนเด็กกับสายตายาวตอนสูงอายุ เหมือนกันหรือไม่ อย่างไร……??? *** ต่างกัน โดยสายตายาวสูงอายุเกิดขึ้นเนื่องจากความยืดหยุ่นของเลนส์ตาลดลง แต่สายตายาวตอนเด็กเกิดจากกำลังสายตาของเลนส์ตาหรือกระจกตาไม่เพียงพอ ทำให้แสงจากระยะไกลโฟกัสหลังจอตา อนึ่งสายตายาวในเด็กไม่เกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่นของเลนส์ตาเนื่องจากเลนส์ตาของเด็กมีความยืดหยุ่นดีมาก   จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองสายตายาวสูงอายุรึป่าว ถ้าไม่ได้วัดสายตา…..??? *** ถ้าท่านเริ่มอายุย่างเข้าเลขสี่หรือพ้นเลขสี่ไปแล้ว ลองสังเกตการมองเห็นว่าเวลาอ่านหนังสือ การยืดแขนออกให้ห่างจากตัวมากขึ้นทำให้มองเห็นตัวหนังสือชัดเจนขึ้นหรือไม่ ถ้าตอบว่าใช่แสดงว่าท่านได้เป็นสมาชิกของสายตาสูงอายุแล้ว   สายตายาวสูงอายุ เป็นแล้วอันตรายไหม ทำให้ตาบอดได้หรือไม่……??? *** สายตาสูงอายุไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่สามารถสร้างความรำคาญและไม่สบายตากับการใช้สายตาระยะใกล้เช่นการอ่านหนังสือหรือการทำงานฝีมือ บางคนอาจรู้สึกปวดตาหรือปวดหัวได้เนื่องจากการต้องพยายามเพ่งเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน การใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์จะทำให้การมองระยะใกล้ชัดเจนขึ้นและสบายตาขึ้น   สายตายาวสูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นแล้วต้องเป็นทุกคนหรือไม่……??? *** ไม่มีใครหลีกเลี่ยงความชราพ้น ดังนั้นเราทุกคนจะมีเลนส์ตาที่มีความยืดหยุ่นลดลง เช่นเดียวกับผิวหนังที่เหี่ยวย่นขึ้นหรือผมที่หงอกและบางลง อย่างไรก็ดีแต่ละคนอาจมีปัญหาสายตาสูงอายุต่างกันไป สำหรับคนที่สายตายาวจะมีแนวโน้มมีปัญหาสายตาสูงอายุเร็วกว่าคนสายตาสั้น ในบางคนอาจไม่จำเป็นต้องใส่แว่นถ้าบังเอิญตาข้างหนึ่งสายตาใกล้เคียงปกติ (มองไกลได้ดี) และอีกข้างหนึ่งสายตาสั้นเล็กน้อย (ประมาณ -1.00…

Read More »

เดี๋ยวมัว เดี๋ยวชัด เกิดจากอะไรหนอ[AT009]

เดี๋ยวมัว เดี๋ยวชัด เกิดจากอะไรหนอ (Accommodation Infacility) คุณมานพ (นามสมมุติ) อายุ 28 ปี สถาปนิกหนุ่ม ลูกค้าประจำของร้านหมอแว่น เข้ามาเพื่อปรึกษาปัญหาการใช้สายตา โดยปกติคุณมานพใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเขียนแบบ วันละ 6-8 ชั่วโมง แต่เมื่อวานนี้ ขณะเข้าประชุมในช่วงบ่าย สังเกตว่า เมื่อมองจอโปรเจกเตอร์แล้วไม่ชัดในทันที ต้องรอสักพักจึงชัด เมื่อกลับมามองคอมพิวเตอร์ ก็ชัดเจนทันที โดยมีอาการอย่างนี้ทุกครั้ง ทำให้เกิดความไม่สบายใจ เนื่องจากเกรงว่าถ้าดวงตาเป็นอะไรไปแล้วจะกระทบต่อหน้าที่การงานและการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก จึงนัดเพื่อเข้ามาตรวจที่ร้าน จากการตรวจ สายตาคุณมานพเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ยังไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์แว่นตาใหม่ ส่วนปัญหาการมองโปรเจกเตอร์แล้วไม่ชัดในทันทีนั้น เกิดจากปัญหา Accommodation Disorder ที่เรียกว่า Accommodative Infacility ทางร้านจึงแนะนำวิธีการทำ Visual training พร้อมทั้งให้ยืมอุปกรณ์เพื่อไปฝึกบริหารกล้ามเนื้อตาเองที่บ้าน หลังจากนั้น 3 วัน  คุณมานพบอกว่าอาการที่เป็นดีขึ้น และเมื่อฝึกการบริหารกล้ามเนื้อตาได้ 12 วัน ปัญหาดังกล่าวก็หายไป และสามารถมองเห็นได้ชัดเจนทันทีเป็นปกติแล้ว อนึ่ง Accommodation Disorder มีหลายอย่าง…

Read More »

ต้องการเห็นชัดขณะแข่งขัน เล่นกีฬา[AT003]

นักกีฬารักบี้ ต้องการเห็นชัดขณะแข่งขันโดยไม่ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ นาย จักรินทร์ (นามสมมุติ) อายุ 17 ปี นักกีฬารักบี้ทีมโรงเรียนของโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่ง มีปัญหาการเล่นรักบี้เนื่องจากสายตาสั้น -2.00 ทั้งสองข้าง จักรินทร์เคยใส่แว่นตาเล่นรักบี้แต่เลิกใส่เนื่องจากความไม่สะดวกหลายประการเช่น ต้องคอยถอดแว่นเพื่อเช็ดเหงื่อบ่อยๆ ในการฝึกซ้อมต้องมีการปะทะทำให้แว่นหลุดหรือเสียหาย จักรินทร์เปลี่ยนมาใช้คอนแทคเลนส์เมื่อต้องการเล่นรักบี้ แต่มีข้อเสียคือ คอนแทคเลนส์มักหลุดเมื่อมีการปะทะระหว่างแข่งขัน ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน บางครั้งเศษดินเข้าตาทำให้เคืองตามาก ต้องขอเวลานอกหรือแกล้งเจ็บเพื่อให้แพทย์สนามนำน้ำเข้าไปล้างตา และหลังจากล้าง บางครั้งคอนแทคเลนส์หลุดหาย ทำให้มองเห็นไม่ชัด หมอแว่นแนะนำให้น้องจักรินทร์ ใช้เลนส์ OrthoK แก้ไขสายตา โดยการใช้จะใส่เฉพาะเวลานอน คอนแทคเลนส์จะทำการปรับความโค้งของกระจกตาให้มีค่าที่เหมาะสม และเมื่อตื่นนอนให้ถอดออก กระจกตายังคงความโค้งอยู่ได้ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนโดยไม่ต้องใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ในเวลากลางวัน หลังจากการใช้จักรินทร์ดีใจมากที่ไม่ต้องกังวลเรื่องคอนแทคเลนส์หลุดอีกต่อไปเมื่อเล่นกีฬา อนึ่ง การแก้ไขสายตาสั้นโดยการปรับความโค้งกระจกตามีหลายวิธี ที่รู้จักกันดีเช่น Lasik และ PRK แต่โดยมากจักษุแพทย์จะไม่ทำให้เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 21 ปี เนื่องจากค่าสายตายังไม่คงที่ และถ้าเด็กมีกิจกรรมที่ต้องตากแดดบ่อยๆ การทำ Lasik หรือ PRK อาจทำให้เกิดฝ้าขาวที่กระจกตาหลังการผ่าตัด ดังนั้นการแก้ไขสายตาในเด็กที่อายุยังไม่ถึง21 ปี วิธีที่เหมาะสมคือการใช้เลนส์ปรับความโค้งกระจกตา Orthokeratology

Read More »

สายตาไม่สั้น ทำไมต้องใส่แว่นตา[AT002]

สายตาไม่สั้น ทำไมต้องใส่แว่นตา ผู้ปกครอง ด.ช. วนัฐ (นามสมมุติ) อายุ 9 ปี พาน้องมาตรวจสายตาที่ร้านหมอแว่นเนื่องจากเพื่อนแนะนำมา น้องเรียนอยู่ชั้น ป .1 ไม่เคยใส่แว่นตา สัปดาห์ก่อนมีบริการจากร้านแว่นเข้าไปวัดสายตาน้องที่โรงเรียน แจ้งผลว่าน้องสายตาสั้น -1.50 D (สั้นหนึ่งร้อยห้าสิบ) ทั้งสองข้าง คุณแม่ฟังแล้วตกใจจึงสอบถามเพื่อนที่มีลูกใส่แว่นตา เพื่อนคุณแม่แนะนำให้มาที่ร้านหมอแว่น       จากการตรวจด้วยเครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์ที่ร้านหมอแว่น สายตาด้านขวาและซ้ายของน้องสั้น -0.50 และ -0.75 ตามลำดับ เมื่อทดสอบด้วย VA chart ปรากฏว่าน้องวนัฐสามารถอ่านตัวอักษรได้ถึงบรรทัด 20/20 ได้ทั้งตาขวาและตาซ้าย แสดงว่าสายตาของน้องปกติ หรือถ้ามีค่าสายตาก็มีน้อยมาก เมื่อตรวจซ้ำด้วยเรติโนสโคป และแว่นเสียบเลนส์ทดลอง ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน จึงแจ้งผู้ปกครองว่าน้องวนัฐไม่จำเป็นต้องใส่แว่น เนื่องจากมีค่าสายตาน้อยมากและไม่มีปัญหาการมองเห็นอื่นๆ  ผู้ปกครองก็แปลกใจว่าทำไมค่าเครื่องคอมพิวเตอร์อ่านออกมาสั้น แต่เมื่อวัดสายตาอย่างถูกต้องแล้วไม่พบสายตาสั้น ทางร้านจึงอธิบายจนผู้ปกครองเข้าใจ อนึ่ง การวัดสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะได้ค่าออกมาสั้นเกินความเป็นจริงถ้าขณะวัดดวงตามีการเพ่ง โดยเฉพาะในเด็กจะพบว่าสายตาที่วัดได้ส่วนใหญ่ออกมาสั้นเกินจริงแทบทุกคน เนื่องจากเด็กมีกำลังการเพ่ง(Amplitude of Accommodation) สูง และเด็กมักเพ่งมองขณะวัด(ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากเด็กรู้สึกว่าเครื่องอยู่ใกล้…

Read More »

ใส่แล้วเมื่อยตา งงหัว[AT001]

ใส่แล้วเมื่อยตา งงหัว คุณอนันต์ อายุ 28 ปี เคยตัดแว่นจากที่ร้าน เข้ามาปรึกษาบอกว่าแว่นตาอันใหม่ที่ตัดจากร้านอื่นใส่ไม่สบาย ทำงานคอมพิวเตอร์ได้สักพักจะมีอาการเมื่อยล้าดวงตา ถ้าใช้แว่นนานกว่า 2 ชั่วโมงจะมีอาการปวดตา เนื่องจากคุณอนันต์ต้องย้ายที่ทำงานไปต่างจังหวัด จึงไม่สะดวกที่จะมาตัดที่ร้านหมอแว่น ทางร้านจึงขอนำแว่นอันใหม่มาวัดและตรวจสายตา ประกอบแว่นให้ตามปกติ หลังจากวัดสายตาให้คุณอนันต์แล้ว และเทียบกับแว่นตาอันที่ใส่แล้วมีปัญหา ปรากฏว่าค่าสายตาของแว่นไม่ตรงกับค่าสายตาของคุณอนันต์ โดยแว่นที่มีปัญหาให้สายตาสั้นมากเกินไป และเอียงน้อยเกินไปด้วย ทางร้านจึงตัดแว่นใหม่ให้ หลังจากที่คุณอนันต์รับแว่นใหม่ที่ทางหมอแว่นตัดให้ไปใช้ อาการปวดตาเมื่อยตาก็หายไปและกลับมาใช้คอมพิวเตอร์ได้วันละหลายชั่วโมงตามปกติ  อนึ่ง แว่นตาที่ใส่แล้วมองเห็นชัดอาจไม่ใช่แว่นที่ใส่แล้วสบายตาเสมอไป ดังนั้นแว่นที่ใส่แล้วชัด จึงอาจเป็นแว่นที่ใส่แล้วสบายตาหรือไม่ก็ได้ แต่แว่นที่ดี จะต้องให้ทั้งความชัดเจนและความสบายตา อนึ่ง ค่าพารามิเตอร์ของแว่นที่จะทำให้คุณอนันต์เห็นได้ชัดเจน อาจมีถึงหลายร้อยค่า แต่ค่าเหล่านั้นอาจจะมีเพียงค่าเดียวที่ดีที่สุด ซึ่งการหาค่าดังกล่าวต้องเกิดจากการวัดสายตาได้อย่างแม่นยำ ประสบการณ์ในการจ่ายเลนส์ และการประกอบแว่นให้ได้ตรงตามพารามิเตอร์ ยกตัวอย่างค่าสายตาที่คุณอนันต์บอกว่ามีความชัดเจนดีไม่แตกต่างกันสองค่าคือ  ตาขวา -4.00 -3.00 x 175  PD 31 ตาซ้าย -4.50 -2.50 x 16 PD 30.5 กับ ตาขวา -5.00…

Read More »

แว่น Progressive ตัดแล้วใส่ไม่ได้[AT004]

แว่นProgressive ตัดแล้วใส่ไม่ได้ คุณอุดร อายุ 46 ปี มาที่ร้านเนื่องจากเพิ่งตัดแว่นและเลนส์โปรเกรสซีฟไปจากร้านแว่นแห่งหนึ่งแต่ใช้งานไม่ได้ เมื่อนำแว่นกลับไปที่ร้านเดิมที่ตัดมาร้านบอกว่าให้ปรับตัว หลังจากที่คุณอุดรได้พยายามใช้สักพักแล้วก็ยังรู้สึกว่าปรับตัวเข้ากับแว่นไม่ได้ เมื่อเล่าให้เจ้านายที่ทำงานอยู่ด้วยกัน จึงได้รับคำแนะนำให้มาที่ร้านหมอแว่น เนื่องจากเจ้านายของคุณอุดรตัดแว่นโปรเกรสซีฟกับร้านนี้แล้วไม่มีปัญหา   ค่าพารามิเตอร์ที่วัดปรับให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ล่ะบุคคล   เมื่อตรวจสายตาคุณอุดร(ตาขวา -2.50 -0.50×175 ตาซ้าย -2.00 -0.25×020 Add +1.25 D.)  และเทียบกับแว่น  โปรเกรสซีฟที่ตัดมา(ตาขวา -3.00 D/ ตาซ้าย -2.75 D Add +1.25) ทำให้ทราบว่าค่าสายตาของแว่น สูงกว่าที่ควรจะเป็นเล็กน้อย และเมื่อวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆในการประกอบแว่นโปรเกรสซีฟอย่างละเอียด พบว่าค่าหลายค่าไม่เหมาะสมกับคุณอุดร จากที่กล่าวมาน่าจะเป็นสาเหตุทำให้คุณอุดรใส่แว่นได้ไม่สบายตาและปรับตัวเข้ ากับแว่นไม่ได้เสียที ทางร้านจึงแก้ไขโดยการตัดเลนส์คู่ใหม่ลงในกรอบเดิม และตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆให้เหมาะสมกับตาคุณอุดร พร้อมทั้งแนะนำวิธีการใช้งานและการปรับตัวเข้ากับแว่นโปรเกรสซีฟให้ ปรากฏว่าคุณอุดรสามารถปรับตัวเข้ากับแว่นใหม่ได้ภายใน 1 สัปดาห์ และรู้สึกพอใจกับแว่นอันใหม่เป็นอย่างมาก อนึ่ง การประกอบเลนส์โปรเกรสซีฟเข้ากับแว่นให้ใส่ได้สบายนั้น เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น การซักประวัติเพื่อให้รู้ถึงความต้องการในการใช้สายตาของลูกค้า การเลือกโครงสร้างแว่นให้เหมาะสมกับการใช้งาน การวัดสายตาที่มีความแม่นยำ การประกอบเลนส์เข้ากับแว่น ซึ่งต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูง  การแนะนำการใช้แว่นโปรเกรสซีฟกับลูกค้า…

Read More »

เลือกเลนส์ไม่เหมาะกับงานแล้วปวดเมื่อยคอ[AT005]

เลือกเลนส์ไม่เหมาะกับงานแล้วปวดเมื่อยคอ รูป การใช้เลนส์ที่ไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยคอหรือหลังได้ คุณทรงศักดิ์(นามสมมุติ) อายุ 48 ปี พาลูกมาตัดแว่นที่ร้านเนื่องจากเพื่อนแนะนำว่าทางร้านหมอแว่นสามารถวัดสายตาเด็กได้ แต่ตัวคุณทรงศักดิ์เองไม่ได้เป็นลูกค้าของร้าน หลังจากวัดสายตาน้องแพทเสร็จแล้ว คุณทรงศักดิ์ได้ปรึกษาเกี่ยวกับอาการปวดคอเนื่องจากการใช้สายตา จากการสอบถาม ได้ความว่า ปัจจุบันคุณทรงศักดิ์ทำงานเป็นรองผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทแห่งหนึ่ง กิจกรรมในแต่ละวันคือ การประชุมและการวางแผนการขายโดยใช้คอมพิวเตอร์ แว่นที่ใช้อยู่เป็นแว่นโปรเกรสซีฟ 1 อันสำหรับใส่ทั้งวัน โดยใช้แว่นกับคอมพิวเตอร์วันละประมาณ 2-3 ชั่วโมง จากข้อมูลที่ได้ทางร้านสันนิษฐานว่าอาการปวดคอของคุณทรงศักดิ์ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้สายตา แต่น่าจะเกิดจากการใช้แว่นโปรเกรสซีฟทำคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้หน้าอยู่ลักษณะเงยขึ้นเล็กน้อย ถ้าใช้ชั่วคราวจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าต้องใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการปวดคอได้ ทางร้านจึงแนะนำให้ทำแว่นเพิ่มอีก 1 อัน สำหรับใช้งานคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เหมาะกับผู้ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันแว่นใหม่นี้จะทำให้คุณทรงศักดิ์เห็นได้ชัดตั้งแต่ระยะอ่านหนังสือถึงระยะจอคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเงยหน้ามอง เลนส์มีมุมมองกว้าง ทำให้สามารถเหลือบตามองจอคอมพิวเตอร์ได้เต็มจอโดยไม่ต้องใช้การหันหน้าช่วยคุณทรงศักดิ์จึงตกลงทำแว่นตาอีกอันตามที่หมอแว่นแนะนำ หลังจากใช้แว่นอันใหม่ทำคอมพิวเตอร์ อาการปวดคอของคุณทรงศักดิ์ก็หายไป ทำให้สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้นานขึ้นและสบายขึ้นเพราะไม่ต้องปวดคอเหมือนแต่ก่อน ในปัจจุบันบริษัทเลนส์ ได้ออกแบบเลนส์โครงสร้างต่างๆออกมามากมาย โดยเลนส์แต่ละโครงสร้างก็เหมาะกับการใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ถ้าท่านมีปัญหากับการใช้สายตา หรือการปวดคอปวดหลังจากการใช้สายตาอย่างไม่ถูกอิริยาบถ  การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกใช้เลนส์ที่เหมาะสม อาจทำให้อาการต่างๆเหล่านั้นลดน้อยลงหรือหายไปได้ รูป ลักษณะท่าทำงานที่เหมาะสม ทำให้อาการปวดเมื่อยลดลง

Read More »

แว่นที่เคยใส่ได้ดี ทำไมกลับใส่แล้วไม่สบายตา งงหัว[AT006]

แว่นที่เคยใส่ได้ดี ทำไมกลับใส่แล้วไม่สบายตา งงหัว คุณทรงพล อายุ  26 ปี เป็นลูกค้าประจำของร้านหมอแว่น เพิ่งตัดแว่นใหม่ไปประมาณ 4 เดือน บอกว่ารู้สึกงงหัวทุกครั้งเมื่อใส่แว่นตา จากการสอบถาม คุณทรงพลบอกว่าเพิ่งเป็นได้ประมาณ 4 วัน โดยหลังจากตัดแว่นไปแล้วได้ใส่แว่นทุกวันแต่ก็ไม่มีปัญหา ลักษณะการใช้สายตาใน 4 วันที่ผ่านมาก็เหมือนอย่างเคย โดยใส่แว่นทั้งวัน ทำคอมพิวเตอร์ ขับรถ และอ่านหนังสือ จากการพูดคุยกัน สังเกตเห็นลักษณะแว่นของคุณทรงพลไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเมื่ออยู่บนหน้า ทางร้านจึงขอนำแว่นมาตรวจดู พบว่าแว่นเบี้ยวเล็กน้อย จึงทำการปรับแต่งแว่นให้เข้ากับใบหน้าและให้ลองใส่แว่นดูอีกครั้ง คุณทรงพลบอกว่าสบายตาขึ้น หลังจากการลองใส่ 15 นาที ก็ไม่รู้สึกงงหัวแต่อย่างใด จากการสอบถามเพิ่มเติมคุณทรงพลเล่าให้ฟังว่าก่อนหน้านี้ได้เผลอนอนหลับโดยไม่ได้ถอดแว่น เมื่อตื่นมาเห็นว่าแว่นเบี้ยวไปเล็กน้อยจึงพยายามดัดให้เป็นเหมือนเดิมและก็ใช้งานตามปกติ เพราะคิดว่าไม่เป็นอะไร คิดไม่ถึงว่าเพียงแค่แว่นเบี้ยวเล็กน้อยก็ทำให้เกิดอาการงงหัวได้ อนึ่ง เมื่อแว่นเสียรูปหรือบิดงอแล้ว การดัดแว่นอย่างขาดความเชี่ยวชาญ อาจเป็นสาเหตุทำให้ใช้แว่นแล้วไม่สบายตา โดยแว่นที่เสียรูปไปทำให้ค่าตัวแปรต่างๆของแว่นตาเปลี่ยนไป เช่นค่าความโค้งหน้าแว่น ค่ามุมเทของแว่น ค่าระยะระหว่างหลังเลนส์ถึงกระจกตา ตำแหน่งของรูม่านตาเมื่อเทียบกับแว่นฯลฯ ซึ่งค่าที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ เป็นสาเหตุทำให้ใส่แว่นแล้วมีอาการไม่สบายตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเลนส์ที่มีค่าสายตาสูง เลนส์โปรเกรสซีฟ ผู้ที่ใช้สายตาเยอะ หรือผู้ที่มีความรู้สึกไวในการมองเห็น ฯลฯ ดังนั้น…

Read More »

งงหัวเนื่องจาก PD ไม่ตรง สายตาเยอะ[AT008]

งงหัวเนื่องจาก PD ไม่ตรง สายตาเยอะ             คุณทศพล (นามสมมุติ) อาชีพพนักงานบริษัท  อายุ 35 ปี เข้ามาตรวจสายตาที่ร้านหมอแว่นเพราะเพื่อนแนะนำมา  โดยคุณทศพล เพิ่งไปตัดแว่นมาใหม่ แต่ใส่ไม่สบาย ภาพแสดง Prismatic Effect ของเลนส์นูน(ภาพบน) และเลนส์เว้า(ภาพล่าง) การตั้งศูนย์แว่นไม่ตรง อาจส่งผลต่อความสบายตาได้ จากการตรวจสอบแว่นเดิมที่เพิ่งตัดมาได้สามสัปดาห์ ค่าสายตา ข้างขวา / ข้างซ้ายคือ  -6.50 D. / -6.00 D. PD แว่นตา 34/34 มม. คุณทศพลบอกว่าแว่นอันเดิมใส่แล้วมองไม่ชัด แต่ไม่มีปัญหาปวดตา แต่มาเริ่มปวดตาเมื่อใส่แว่นใหม่ที่เพิ่งตัด โดยจะเริ่มปวดเมื่อใส่แว่นและมองใกล้ ใช้สายตาได้ไม่เกิน 15 นาทีจะเริ่มมีอาการปวดตา เมื่อกลับไปร้านเดิมที่ตัดแว่น ทางร้านแก้ไขปัญหาให้ไม่ได้ โดยบอกกับคุณทศพลว่า แว่นใหม่ค่าสายตาเยอะ ต้องใช้เวลาปรับตัวประมาณ 2 สัปดาห์ จากการวัด PD จริง ได้ค่า PD ของคุณทศพล เมื่อมองไกลคือ…

Read More »