02-734-0911-2, 081-7344-552 thaidoctorvision@gmail.com [gtranslate]

การใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์คลีนแคร์ Clean Care [AT033]

การใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ Clean Care Clean Care เป็นระบบทำความสะอาดคอนแทคเลนส์โดยการใช้ ไฮโดรเจน เปอร์อ๊อกไซด์ ในการทำความสะอาดเลนส์ ร่วมกับ Platinum Disc เป็นตัวสลาย ฤทธิ์ของไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์อีกที ทำให้เลนส์สะอาด ปราศจากสารกันเสียที่ทำให้หลายคนเกิดอาการแพ้ ตาแดง สามารถใช้ได้ทั้งกับคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม และชนิดกึ่งนิ่มกึ่งแข็ง คอนแทคเลนส์สีหรือตาโตก็ใช้ได้นะ การใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ Clean Care ถอดคอนแทคเลนส์ที่ต้องการทำความสะอาด ใส่แยกข้างขวาซ้ายในตะกร้าที่ติดกับฝาของตลับที่ใช้กับน้ำยา Clean Care  โดยเฉพาะ ใส่น้ำยา Clean Care ลงในตลับตามขีดที่กำหนด เสร็จแล้วปิดฝาตลับให้แน่น ตะกร้าที่บรรจุคอนแทคเลนส์จะถูกแช่ลงในน้ำยาทำความสะอาด (ถ้าระบบทำความสะอาดยังทำงานได้ดีอยู่ จะสังเกตุเห็นฟองเล็กๆเกิดขึ้นที่พลาสติกสีเข้มใต้ตะกร้า) ตั้งตลับทิ้งไว้ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง จะสังเกตเห็นฟองฟู่ขึ้นมาจากก้อนพลาสติกสีดำจากการทำปฏิกิริยาระหว่าง Platinum Disc กับ ไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ ในขณะเดียวกัน ไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ก็ทำการฆ่าเชื้อโรคที่คอนแทคเลนส์ไปด้วย (ถ้าแช่ไม่ถึง 6 ชั่วโมง อาจทำให้ น้ำยายังไม่หมดฤทธิ์ เมื่อใส่คอนแทคเลนส์เข้าตาอาจทำให้ระคายเคืองตาอย่างมากถึงมากที่สุด) หลังจากการแช่อย่างน้อย 6 ชั่วโมง ให้นำคอนแทคเลนส์ออกจากตลับและใส่เข้าดวงตาได้ทันทีโดยไม่ต้องล้างด้วยน้ำยา คค หรือน้ำยาใดๆอีก(ถ้าต้องการล้างคอนแทคเลนส์อีกครั้งอาจใช้น้ำเกลือล้าง…

Read More »

อยากใส่คอนแทคเลนส์[AT034]

FAQ อยากใส่คอนแทคเลนส์ เพื่อนใส่คอนแทคเลนส์อยู่ จะลองขอยืมเพื่อนใส่ได้หรือไม่……??? ไม่ควรครับ เนื่องจากคอนแทคเลนส์เป็นสิ่งของส่วนตัวที่สัมผัสกับสารคัดหลั่ง(น้ำตา ขี้ตา) โดยตรง การใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับเพื่อนอาจทำให้เกิดโรคติดต่อตามมาได้ครับ และขนาดของคอนแทคเลนส์ของเพื่อนก็อาจไม่พอดีกับขนาดของดวงตาของเราด้วย วัตถุประสงค์ของการใส่คอนแทคเลนส์ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง…….??? จุดประสงค์ของการใช้คอนแทคเลนส์ในปัจจุบัน อาจแบ่งใหญ่ๆได้ดังนี้ ◦      เพื่อแก้ไขปัญหาสายตา ทั้งปัญหาสายตาสั้น ยาว เอียง หรือปัญหาสายตายาวสูงอายุ ◦      เพื่อปรับความโค้งกระจกตา โดยใส่คอนแทคเลนส์ตอนนอน เมื่อตื่นขึ้นมาสามารถถอดเลนส์และมองเห็นได้ชัดเจนโดยไม่ต้องใส่แว่น เหมาะสำหรับอาชีพหรือกิจกรรมที่ไม่สะดวกที่จะใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ และไม่ต้องการทำเลสิก เช่น นักเรียนเตรียมทหาร นักกีฬารักบี้ นักผจญเพลิง นักว่ายน้ำ หรือสำหรับคนที่มีปัญหาตาแห้งเมื่อใส่คอนแทคเลนส์ นักบิน แอร์โฮสเตส พนักงานออฟฟิศฯลฯ ◦      เพื่อความสวยงาม เช่น คอนแทคเลนส์ตาโต เปลี่ยนสีตา หรือคอนแทคเลนส์เพื่อการแสดงละคร หรือผู้ที่มีรอยแผลเป็นที่กระจกตาหรือม่านตา ฯลฯ ◦      เพื่อรักษาโรคหรือความผิดปกติ เช่นแก้ไขโรคกระจกตาโป่งพอง กระจกตาบิดเบี้ยว หรือคอนแทคเลนส์ปิดกระจกตาเพื่อป้องกันการบาดเจ็บหลังจากการทำ PRK เปลี่ยนถ่ายกระจกตา หรือแผลที่กระจกตา ฯลฯ อย่างไรก็ดี สำหรับบางคนอาจมีวัตถุประสงค์มากกว่าหนึ่งก็ได้เช่น อยากแก้ไขปัญหาสายตา แต่ไม่อยากใส่แว่นตาเป็นต้น…

Read More »

รวมคำถามเลนส์จัดตา OK Lens, OrthoKeratology, Ortho-K lens[AT084]

รวมคำถามเลนส์จัดตา OK Lens, OrthoKeratology, Ortho-K lens[AT084] OrthoK lens คืออะไร…..??? OrthoK lens คือชื่อของคอนแทคเลนส์ชนิดกึ่งนิ่มกึ่งแข็งที่ออกแบบผิวด้านหลังแบบ Reverse Geometryใช้สำหรับใส่นอนเพื่อแก้ไขปัญหาสายตา การใช้งานของ OrthoK Lens จะใช้สำหรับใส่ขณะนอนหลับ และถอดออกเมื่อตื่น โดยระหว่างวันผู้ใช้เลนส์ไม่จำเป็นต้องใส่คอนแทคเลนส์หรือแว่นตา ก็สามารถมองเห็นได้ชัดเจน OrthoK lens แก้ไขค่าสายตาได้อย่างไร…..??? OrthoK lens แก้ไขค่าสายตาโดยการปรับความโค้งของกระจกตาคล้ายกับการทำเลสิก ต่างกับการทำเลสิกตรงที่การใช้ OrthoK Lens ไม่ต้องผ่าตัด ผู้ใช้เพียงแค่ใส่ OrthoK Lens  ขณะหลับและถอดออกเมื่อตื่นนอน คอนแทคเลนส์ที่ถูกออกแบบเป็นพิเศษจะช่วยปรับความโค้งของกระจกตาในขณะนอนหลับ ทำให้ความโค้งกระจกตาเหมาะสมและมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น รูปเปรียบเทียบ การแก้ไขสายตาชนิดต่างๆ 1 ภาพแสดงสายตาปกติ แสงที่เข้าสู่ดวงตา(สีเขียว)โฟกัสพอดีที่จอตา มองเห็นได้ชัดเจน 2 ภาพแสดงสายตาสั้น แสงที่เข้าสู่ดวงตา โฟกัสสั้นกว่าจอตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด 3 ภาพแสดงสายตาสั้นที่แก้ไขด้วยแว่นตาเลนส์เว้า ทำให้แสงที่เข้าสู่ดวงตาโฟกัสพอดีที่จอตาและให้มองเห็นชัด 4 ภาพแสดงสายตาสั้นที่แก้ไขด้วยคอนแทคเลนส์ที่เป็นเลนส์เว้า ทำให้แสงที่เข้าสู่ดวงตาโฟกัสพอดีที่จอตาและมองเห็นชัด (การใช้คอนแทคเลนส์เป็นการแก้ไขโดยการใช้เลนส์เว้าเช่นเดียวกันกับเลนส์แว่นตา…

Read More »

รวมคำถามคอนแทคเลนส์ สำหรับคนอยากใส่[AT035]

รวมคำถามคอนแทคเลนส์ สำหรับคนอยากใส่ FAQ คอนแทคเลนส์ การใส่ครั้งแรก ??? คำแนะนำสำหรับการใส่คอนแทคเลนส์ครั้งแรก ควรทำอย่างไรบ้าง *** ถ้าท่านตัดสินใจที่จะใส่ครั้งแรกแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ หาผู้แนะนำวิธีการใช้และใส่คอนแทคเลนส์ที่ถูกต้องครับ โดยมีคำแนะนำในการเลือกผู้แนะนำดังนี้ ดีที่สุด ควรจะเป็นนักทัศนมาตรหรือจักษุแพทย์ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้ตรงที่สุดทางด้านคอนแทคเลนส์และสามารถประกอบคอนแทคเลนส์ได้ถูกต้องตามกฏหมายของประเทศไทย อย่างไรก็ดี จำนวนนักทัศนมาตรหรือจักษุแพทย์จะมีน้อย บางจังหวัดหรือบางอำเภอยังไม่มีบุคลากรดังกล่าว ร้านแว่นตาที่มีความรู้เกี่ยวกับคอนแทคเลนส์ ปัจจุบันร้านแว่นตาหลายร้านมีความรู้ดีและสามารถแนะนำการใช้คอนแทคเลนส์ได้เป็นอย่างดี ท่านอาจสอบถามเพื่อนของท่านหรือโทรถามบริษัทคอนแทคเลนส์ (หาเบอร์ที่ข้างกล่องหรือทางอินเตอร์เนต) เพื่อสอบถามถึงร้านที่บริษัทคอนแทคเลนส์แนะนำ จะทำให้ได้ร้านที่น่าจะมีความรู้ดีครับ สถานศึกษาที่มีการเรียนการสอนเรื่องคอนแทคเลนส์และสายตา ที่แนะนำคืออาจไปคลินิกสายตาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สามารถโทรไปนัดหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับคอนแทคเลนส์ได้ครับ (ถ้ามีที่ใดเพิ่มเติมกรุณาแจ้งผมเพื่อลงในคำแนะนำเพิ่มครับ) ??? มีเพื่อนที่ใช้อยู่ ให้เพื่อนสอนให้ได้หรือไม่ *** คนที่ใช้คอนแทคเลนส์อยู่แล้วอาจมีทักษะในการใช้คอนแทคเลนส์ แต่ไม่มีความรู้ในการแนะนำหรือสอนใช้คอนแทคเลนส์ครับ (เปรียบเช่นนักเรียนที่เรียนดี อาจไม่มีความสามารถในการสอนก็ได้) อีกอย่างที่สำคัญคือการเลือกชนิดของคอนแทคเลนส์ให้เหมาะสมกับการใช้งานและใส่ได้พอดีกับดวงตาของท่าน ซึ่งเพื่อนไม่สามารถทำได้ ??? ทำไมร้านแว่นตาบางร้านจึงขายคอนแทคเลนส์แต่ไม่สอนการใช้คอนแทคเลนส์ *** อาจมีเหตุผลหลายอย่างดังนี้ ร้านมีความรู้แต่ไม่ต้องการเสียเวลา เนื่องจากการสอนวิธีการใช้คอนแทคเลนส์อย่างถูกต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน เริ่มตั้งแต่การตรวจวัดสายตา การสอนใส่ สอนถอด สอนทำความสะอาด และข้อควรระวังต่างๆ รวมๆแล้วใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งร้านคิดว่าไม่คุ้มกับเวลาที่เสียไปเมื่อเทียบกับการที่ลูกค้าซื้อคอนแทคเลนส์เพียงคู่เดียวและได้กำไรไม่กี่สิบบาทครับ ร้านไม่มีความรู้ จึงไม่ทราบว่าจะสอนอะไร  …

Read More »

คอนแทคเลนส์สายตาสองข้างต่างกันมาก (Anisometropia)[AT036]

คอนแทคเลนส์สายตาสองข้างต่างกันมาก (Anisometropia) ด.ช. เตย์ อายุ 8 ปี ชาวเวียดนาม คุณแม่พามาพบด้วยปัญหาที่ลูกชายมีปัญหาสายตาแต่ไม่ยอมใส่แว่น คุณแม่พาไปหาจักษุแพทย์ที่เวียดนาม จักษุแพทย์ตัดแว่นให้และกำชับให้ใส่แว่นตาตลอดเวลาเพื่อป้องกันโรคตาขี้เกียจในตาข้างซ้าย อย่างไรก็ดี น้องเตย์ ยอมใส่แว่นอยู่พักใหญ่จนกระทั่งเมื่อเริ่มโตขึ้น ก็เริ่มต่อต้านการใส่แว่นตามากขึ้น จนกระทั่งบางครั้ง เมื่อคุณแม่บังคับให้ใส่แว่นมากๆ จะแกล้งนำแว่นไปซ่อน หรือทำลายแว่นให้หักหรือแตกเพื่อจะได้ไม่ต้องใส่แว่น คุณแม่ของน้องเตย์ (นามสมมุติ) พาลูกมาตรวจสายตาที่ร้านหมอแว่น (เนื่องจากลูกสาวคนโตมาเรียนที มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) และได้รู้จักกับเพื่อนที่เป็นลูกค้าร้าน) จากการตรวจสายตาน้องเตย์ ได้ค่าสายตา ด้านขวา +0.50 D. (VA 20/25) และด้านซ้ายคือ  +6.50 D.(VA 20/40+1) ซึ่งการที่น้องเตย์ มีค่าสายตาทั้งสองข้างต่างกันมาก ทำให้เกิดปัญหาในการใส่แว่นคือ ขนาดภาพของทั้งสองตาจะต่างกัน ทำให้เมื่อใส่แว่น สมองต้องทำงานหนักเพื่อรวมภาพที่มีขนาดต่างกันเข้าด้วยกัน และจากการที่เลนส์สองข้างมีกำลังต่างกันมาก ทำให้เกิด Prismatic Effect ในตาทั้งสองข้างต่างกันทุกครั้งที่เหลือบตามอง ทั้งสองปัจจัยนี้ส่งผลให้มีอาการปวดหัวเมื่อใส่แว่นตาและทำให้ไม่อยากใส่ รวมทั้งปัญหาทางด้านความสวยงาม กล่าวคือ การใส่แว่นตาที่มีความหนาของเลนส์สองข้างต่างกันมาก ทำให้ดูแปลกเมื่อใส่แว่น อาจถูกเพื่อนๆล้อ จึงทำให้ไม่อยากใส่แว่น…

Read More »

จอตาเสื่อม[AT040]

จอตาเสื่อม   จอตาเสื่อม หรือจอประสาทตาเสื่อมคืออะไร…..??? จอตาเสื่อม (Age Related Macular Degeneration, AMD) คือภาวะการสูญเสียการมองเห็นของดวงตาในส่วนศูนย์กลางการมองเห็นซึ่งทำให้การมองภาพที่มีความละเอียดสูญเสียไป (ทำให้อ่านหนังสือไม่ได้ มองหน้าคนแล้วไม่รู้ว่าเป็นใคร) แต่การมองเห็นในส่วนข้างๆยังดีอยู่ทำให้สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ มักเกิดกับผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จอตาเสื่อมจัดเป็นโรคอันดับต้นๆที่ทำให้ผู้สูงอายุมีการมองเห็นที่แย่ลง   จอตาเสื่อมเกิดจากอะไร….??? เกิดจากการแยกชั้นระหว่างจอตาและตาชั้นกลางหรือคลอรอยด์ซึ่งเป็นชั้นที่ทำหน้าที่ส่งอาหารและอากาศให้แก่จอตา การแยกชั้นทำให้จอตาเสียหายหรือตายไปทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณภาพไปที่สมองได้ สาเหตุของการแยกชั้นมีหลายสาเหตุเช่นการเกิด ดรูเซน หรือการที่มีเส้นเลือดใหม่เกิดขึ้น การแยกชั้นของจอตาในโรคจอตาเสื่อมจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป แตกต่างจากจอตาหลุดลอกซึ่งจะเป็นแบบฉับพลัน   ใครบ้างที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจอตาเสื่อม……??? คนทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจอตาเสื่อม โดยเฉพาะ ผู้ที่อายุมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ก็มีความเสี่ยงสูงว่าคนอื่น ผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ผู้ที่มีระดับเม็ดสีในจอตาน้อย ผู้ที่มีดรูเซนในจอตาส่วนกลาง คนอ้วน ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้สูบบุหรี่ ผู้ที่ได้รับรังสียูวี และแสงช่วงความยาวคลื่นต่ำ(ช่วงแสงสีม่วง น้ำเงิน) ปริมาณมากต่อเนื่อง   จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองจอตาเสื่อมรึป่าว ถ้าไม่ได้ไปตรวจสายตา……..??? ผู้ที่เป็นจอตาเสื่อมระยะแรกมักจะไม่สามารถบอกได้ว่าตนเองเป็นโดยผู้ที่เริ่มมีอาการจอตาเสื่อมแล้วอาจสังเกตว่าตามัวลงอย่างช้าๆ (ซึ่งมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ตามัวลงอย่างช้าๆเช่น ต้อกระจก ต้อหิน ) หรือเห็นภาพบิดเบี้ยว สำหรับผู้ที่เป็นจอตาเสื่อมรุนแรงแล้วอาจสูญเสียสายตาส่วนกลางไปอย่างสมบูรณ์ดังรูปด้านบน การตรวจจอตาเสื่อมด้วยตนเองด้วยเครื่องมือง่ายๆคือ Amsler…

Read More »

กระจกตาโป่งพอง Keratoconus[AT041]

กระจกตาคืออะไร ทำหน้าที่อะไร…..??? กระจกตา (Cornea) คือส่วนของลูกตาที่อยู่นอกสุด เป็นเนื้อเยื่อใสอยู่ส่วนหน้าของตาดำ โดยปกติเรามองไม่เห็นกระจกตาเนื่องจากกระจกตาใสไม่มีสี ที่เราเห็นสีดวงตาเป็นสีดำหรือน้ำตาลนั่นคือสีของม่านตา (Iris) ซึ่งอยู่ด้านหลังกระจกตา กระจกตาทำหน้าที่เป็นอวัยวะหลักในการรวมแสงเข้าสู่ดวงตา ดังนั้นกระจกตาจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในดวงตาของเรา รูปแสดงกระจกตา (Cornea) และม่านตา (Iris) กระจกตาโป่งพองคืออะไร เกิดจากอะไร…..??? กระจกตาโป่งพอง คือการที่กระจกตาบางส่วนมีการนูนตัวขึ้นมาทำให้กระจกตาบิดเบี้ยวผิดปกติ สาเหตุเนื่องจากบางส่วนของกระจกตา เกิดการบางตัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ความดันภายในลูกตา ดันกระจกส่วนที่บางตัวลงให้นูนออกมา ถ้ากระจกตาส่วนที่นูนออกมามีลักษณะเป็นยอดแหลมจะเรียกว่า Keratoconus (Kerato= กระจกตา Cone=รูปกรวย) ถ้ากระจกตานูนออกมามีลักษณะเป็นรูปทรงกลม จะเรียกว่า Keratoglobus หรือถ้านูนออกมาเฉพาะบริเวณริมกระจกตา จะเรียกว่า Pellucid Marginal Degeneration เป็นต้น สาเหตุการเกิดกระจกตาโป่งพองยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยคาดว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม การอักเสบของตา การขยี้ตาบ่อย หรือบางครั้งเกิดหลังจากการทำเลสิกหรือ PRK ด้วย รูปซ้ายบน ภาพแสดงกระจกตาปกติ รูปขวาบน ภาพแสดงตาที่เป็นกระจกตาโป่งพอง(Keratoconus) สังเกตเห็นการนูนตัวขึ้นของกระจกตา(กรณีเป็นไม่มากจะสังเกตไม่เห็นว่ากระจกตานูนออกมา) รูปซ้ายบน กระจกตาโป่งพองดูจากด้านข้าง อาจสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก…

Read More »

ทดสอบตาเหล่ตาเขเบื้องต้นด้วยตนเอง[AT054]

ทดสอบตาเหล่ตาเขด้วยตนเอง ทดสอบตาเขระยะไกล 1.หาเป้ามอง อาจเลือกจุดเล็กๆที่ระดับสายตาห่างจากตัวประมาณ 6 เมตร ขนาดขนาดของจุดประมาณเท่าเหรียญบาทหรือใหญ่กว่าเล็กน้อย ลักษณะจุดที่มองควรตัดกับสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน ใช้จุดดังกล่าวเป็นเป้ามองในการทดสอบ 2.ลืมตาทั้งสองข้างและมองไปที่เป้า (ถ้ามีแว่นสายตามองไกลให้ใส่แว่นตาด้วย) ผู้ทดสอบต้องมองเห็นเป้าได้ชัดเจนจึงทำการทดสอบต่อได้ ถ้ามองเห็นเป้าที่ใช้มองแยกออกเป็นสองภาพ(ซึ่งจริงๆแล้วมีเป้าอันเดียว) แสดงว่าคุณตาเหล่ ถ้ามองเห็นเป้าเป็นภาพเดียว ให้ทำการทดสอบข้อต่อไป 3.ใช้มือขวาบังตาขวาโดยไม่ให้มือแตะถูกหนังตา เลื่อนมือไปมาเพื่อปิดและเปิดตาขวาโดยใช้เวลาสำหรบการปิดหรือเปิดตาแต่ละครั้งประมาณ 3-5 วินาที (ไม่ให้มือไปบังตาซ้าย)  ระหว่างที่เลื่อนมือเพื่อปิดตาขวาให้สังเกตทันทีว่าตาซ้ายยังมองที่เป้าอยู่หรือไม่ (สังเกตเฉพาะตอนบัง ไม่ต้องสังเกตตอนที่ขยับมือออก)       ถ้าตาซ้ายยังมองอยู่ที่เป้าตลอดเวลาขณะที่มือบังและเปิดตาขวาอยู่แสดงว่าตาซ้ายไม่เหล่     ถ้าปิดตาขวาแล้วตาซ้ายไม่ได้มองที่เป้า กลับมองที่อย่างอื่นอยู่และค่อยเลื่อนมาที่มองที่เป้า แสดงว่าตาซ้ายเหล่     ถ้าปิดตาขวาแล้ว ตาซ้ายมองเห็นไม่ชัด แสดงว่าตาซ้ายอาจมีสายตาหรือความผิดปกติอื่นๆทำให้มองไม่ชัด (หรืออาจตาเหล่ด้วย ถ้าปิดตาขวาแล้วตาซ้ายไม่ได้มองที่เป้า)     ถ้าปิดตาขวาแล้ว ตาซ้ายมองไม่เห็นอะไรเลย แสดงว่าตาซ้ายอาจมัวหรือบอด (เวบ YouTube แสดงการตรวจตาเหล่ตาเข ภาษาอังกฤษ)4.ทำซ้ำกับตาอีกข้าง โดยใช้มือซ้ายบังตาซ้าย และทำตามวิธีในข้อ 3       ถ้าตาขวายังมองอยู่ที่เป้าตลอดเวลาขณะที่มือบังและเปิดตาซ้ายอยู่แสดงว่าตาขวาไม่เหล่    …

Read More »

เบาหวานขึ้นตา จอตาบวม CSME[AT042]

เบาหวานขึ้นตา จอตาบวม CSME คุณประสิทธิ์(นามสมมุติ) อายุ 56 ปี ลูกค้าประจำของร้านหมอแว่น มาที่ร้านด้วยอาการตามัว ต้องการมาทำแว่นใหม่เพราะเลนส์ที่ตัดไปใช้มาได้หลายปีแล้ว เมื่อวัดสายตาดู พบว่า VA ดีที่สุดของคุณประสิทธิ์คือ ตาขวา 20/20-1  ตาซ้าย 20/30-2 และไม่ดีขึ้นด้วย Pinhole ทางร้านจึงทำการถ่ายภาพจอประสาทตา จากรูปที่ถ่ายได้พบว่า จอตาด้านซ้ายบริเวณศูนย์กลางการมองเห็นและใกล้เคียง (Macula) มีอาการบวมตัว จัดเป็น CSME(Clinically Significant Macular Edema จอตาบริเวณศูนย์กลางการมองเห็นบวม ซึ่งควรรับการรักษาทันที) เมื่อดูประวัติเพิ่มเติม ได้ความว่า คุณประสิทธิ์ ป่วยเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่อายุ 48 ปี และเมื่อซักประวัติเพิ่มเติม พบว่าการคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ค่อยดีเท่าไร จึงแนะนำให้คุณประสิทธิ์ไปพบจักษุแพทย์โดยด่วน โดยยังไม่ต้องตัดแว่นเนื่องจากแว่นอันเดิมยังพอใช้งานได้อยู่      รูปถ่ายจอตา แสดงจอตาบวม (บริเวณที่เห็นเป็นจุดสว่างสีเหลืองเล็กๆ กระจายตัวเป็นกระจุก) การตรวจพบเบาหวานขึ้นตาระยะนี้ร่วมกับการรักษาอย่างถูกต้อง สามารถป้องกันตาบอดจากเบาหวานขึ้นตาได้ อนึ่ง โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะมีโรคอื่นๆที่ตามมา เช่น…

Read More »

เบาหวานขึ้นตา ไม่ยอมให้จักษุแพทย์ยิงเลเซอร์[AT043]

เบาหวานขึ้นตา ไม่ยอมให้จักษุแพทย์ยิงเลเซอร์ คุณเอื้อมพร คนไข้หญิงอายุ 67 ปี มีปัญหาตามัว มาที่คลินิกสุขภาพสายตา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นครั้งแรกเนื่องจากลูกสาวพามา โดย  คุณเอื้อมพรเป็นเบาหวานมากว่า 10 ปีและผ่าต้อกระจกมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว หลังจากการวัดสายตา พบว่ามีค่าสายตาเล็กน้อย และแว่นตาอันเดิมยังใช้งานได้ดีอยู่ แต่ตาแต่ละด้านของคนไข้เห็นได้ดีเพียง VA  20/40 และ 20/30-2  โดยการเห็นไม่ดีขึ้นหลังจากการใช้  Pin Hole จึงขอตรวจด้วย Slit lamp และเครื่องถ่ายภาพจอตาแต่คนไข้ไม่ให้ความร่วมมือ โดยบอกว่ากลัวสายตาจะเสีย ภาพเปรียบเทียบจอตาปกติ(รูปซ้าย)และจอตาของผู้ที่เป็นเบาหวาขึ้นตา(DiabeticRetinopathy) ร้านหมอแว่นมีเครื่องถ่ายภาพจอตาบริการสำหรับลูกค้า เมื่อตรวจพบเบาหวานขึ้นตาจะสามารถส่งต่อเพื่อไปรักษาได้อย่างทันท่วงที(เบาหวานขึ้นตาระยะแรกอาจไม่มีอาการหรือความเปลี่ยนแปลงทางสายตา แต่เห็นได้จากภาพถ่ายจอตา) จากการสอบถามเพิ่มเติม ได้ความว่า คนไข้ มีอาการเบาหวานขึ้นตา(Diabetic retinopathy) และได้รับการรักษาจากจักษุแพทย์หลายครั้งโดยการยิงเลเซอร์ แต่หลังจากการยิงเลเซอร์ทุกครั้งคนไข้กลับรู้สึกว่าตามัวมากขึ้น จนครั้งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คุณเอื้อมพรไปพบจักษุแพทย์ ได้รับการวินิจฉัยว่าควรยิงเลเซอร์อีก แต่คนไข้ปฏิเสธการรักษาเนื่องจากไม่ต้องการให้การเห็นแย่ลงไปอีก หลังจากผู้ตรวจอธิบายว่าการตรวจโดยเครื่องมือ Slit lamp และ เครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา เป็นแสงเหมือนกับแสงโดยทั่วไป ไม่มีอันตรายกับดวงตา และจะไม่ทำให้การมองเห็นแย่ลง…

Read More »